วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หนังนักเขียน

หลังจากที่เคยอ่านสงครามและสันติภาพในสมัยเรียนที่อ่านอย่างไรก็ไม่จบและไม่เข้าใจครบถ้วน ก็เลยคิดว่าจะหาดีวีดีภาพยนตร์เรื่องนี้ดูอีกครั้ง เพราะฉายเป็นภาพ มันก็เหมือนถูกตีความมาให้รับรู้แล้ว (แอ๊บง่ายเข้าว่า) หากว่ามาสะดุดที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ และบังเอิญพบฟีเจอร์ดีๆ จึงอยากแบ่งปัน หากมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อไหร่ ไม่ลืมตั้งตนเป็นนักวิจารณ์ จับผิดเรื่องที่ข้องใจมาเขียนให้อ่านกัน




หนังนักเขียน

ภาพยนตร์ที่นำอัตชีวประวัตินักเขียนคนดังถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่า เนื่องเพราะมันไม่น่าเบื่อ ผู้ชมมีความเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ นานา ว่า ในมุมมืดนักเขียนขี้เมา บ้าคลั่ง และหมกมุ่นทางเพศ เรื่องเหล่านี้ก็เคลือบเข้ากับเรื่องราวให้บีบคั้นอารมณ์ ไม่เช่นนั้นคงไม่น่าสนใจ ไม่มีใครอยากรู้ หนังสืออัตชีวประวัตินักเขียนก็ไล่ความมาจากเรื่องจริงของพวกเขาใช่ไหม? ทำไมไม่ปล่อยให้พวกเขาเล่าเป็นตัวหนังสือ? ทำไมต้องไปไล่ตามฉายชีวิตนักเขียน? นั่นอาจเพราะ ในฐานะนักอ่าน เราก็อยากทำหน้าที่สายสืบสมัครเล่นสืบความจริงจากเรื่องราวที่อ่าน ในหนังสืออัตชีวประวัติเหล่านั้น เราชอบเข้าไปขุดโพรงชีวิตของเขาและเปิดประสบการณ์ชีวิตเด็ดๆ ซึ่งถูกลับคมให้เรื่องราวเฉียบคม ปัญหาก็คือชีวิตนักเขียนไม่สามารถสร้างเป็นภาพยนตร์ได้เสมอไป ถ้านักเขียนเป็นคนดีล่ะ? พวกเขาบางคนใช้เวลาทั้งสัปดาห์เพียงลำพังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้อง หรือไม่ก็หมกจมกับกองกระดาษ (สำหรับนักเขียนหัวเก่า)

เพราะฉะนั้น ภาพยนตร์ที่มีตัวละครดำเนินเรื่องเป็นนักเขียนนามอุโฆษ เรื่องราวจึงถูกทำให้แฟนตาซี นั่นคือนักเขียนดื่มจัด บ้าคลั่ง หมกหมุ่นทางเพศ เหมือนเช่นตัวอักษรจากปลายปากกา เช่น ภาพยนตร์เรื่อง

Quills หนังอัตชีวประวัติของ the Marquis de Sade
Naked Lunch หนังอัตชีวประวัติของ William Burroughs
Where the Buffalo Roam, Fear and Loathing หนังอัตชีวประวัติของ Hunter S Thompson
Bar Fly, Factotum หนังอัตชีวประวัติของ Charles Bukowski
Henry and June หนังอัตชีวประวัติของ Think Henry Miller

ทว่าก็มีเหมือนกันที่ใช้ไลฟ์สไตล์ของนักเขียนมากกว่าสไตล์การเขียน อย่างภาพยนตร์ของ Thompson เพราะเขามีประสบการณ์ชีวิตที่โชกโชนในการเผชิญแรงวัฒนธรรมในยุคเซเว่นตี้

ภาพยนตร์นักเขียน โดยเป็นที่นิยมมักเป็นนักเขียนนวนิยาย เพราะว่าเรื่องดราม่าประโลมโลก มันไม่เคร่งครัดในข้อมูลความจริง ภาพยนตร์เรื่อง In The Shining ที่แจ๊ค นิโคลสัน แสดงเป็นนักเขียนชื่อดังผู้คร่ำเคร่งอย่างทุกข์ทน หัวสมองตีบตันขณะกักตัวเองเขียนงานในโรงแรมที่ว่างเปล่าในช่วงฤดูหนาว
ซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง Californication เรื่องราวของนักเขียน Hank Moody ชีวิตของเขาเกี่ยวข้องกับเรื่องเซ็กส์และยาเสพติด หากว่าในซีรีส์เน้นความบันเทิงมากกว่าเรื่องจริงที่นักเขียนเขียนไว้

เมื่อไรที่หัวเรื่องภาพยนตร์คือนักเขียนตัวจริง เรื่องที่นำมาเล่าจะถูกเล่าไปตามโครงเรื่อง เรื่องโรแมนติกปกปิดลึกลับถูกนำมาเล่าใหม่ไม่ก็ถูกนำมาขยายในช่วงชีวิตหัวเลี้ยวหัวต่อ Becoming Janeภาพยนตร์อัตชีวประวัติเรื่องล่าสุดของเจน ออสติน ถูกเรียกว่าเป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติที่ "ไม่ได้สร้างขึ้นบนพื้นฐานข้อเท็จจริง" ภาพยนตร์มุ่งประเด็นไปที่เรื่องรักโรแมนติกของออสตินกับชายไอริส--โทมัส ลีฟอย ในความจริงแล้ว ความสัมพันธ์ของพวกเขาเกิดขึ้นในระยะไม่กี่สัปดาห์ และจากจดหมายที่เป็นบันทึกลายลักษณ์นั้น กล่าวอ้างได้ว่ามันก็แค่การสานสัมพันธ์จีบกันเฉยๆ ไม่สามารถเชื่อได้ว่ามันเป็นแรงบันดาลใจให้กับนิยายของหล่อน ซึ่งเนื้อเรื่องส่วนมากพบปมประเด็นเรื่องความรักและชนชั้น

หนังสือของออสตินสร้างเป็นหนังที่ดีได้ ทว่าไม่ใช่ชีวิตจริงของหล่อน เธอไม่ค่อยออกจากบ้านมากนัก นั่งอยู่ในบ้านในชนบทและเขียนหนังสือ
ในศตวรรษที่ 19 นักเขียนชายหลายท่านมีอิสระทางความคิดและการกระทำ ผลที่ตามมาก็คือ งานเขียนเรื่องต้องห้ามกกลับได้รับความนิยม พวกเขาคลั่งบ่อยๆ เช่น โฟว์แบร์ต (Flaubert) อาศัยอยู่ที่ฝรั่งเศสในชนบทกับแม่ ชีวิตจึงค่อนข้างเชื่องช้า มีวินัย ทักษะและศิลปะการเขียนเรียบง่าย โบร่ำโบราณ ทว่าเมื่อเขามีโอกาสเดินทางไปปารีสส ระเบิดอารมณ์ไปกับทัวร์ของนักร้องเฮวี่ เมทัล ร็อค ที่เต็มไปด้วยความเสื่อมถอยด้วยความต้องการทางเพศอันรุนแรง
Leo Tolstoy คือนักเขียนที่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัตินักเขียนเรื่องล่าสุด The last Station แสดงโดย คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ และ เฮเรน มิลเลน งานเขียนของเขาถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ 150 ครั้ง หนังสือเรื่องสงครามและสันติภาพและแอนนา คาเรนนินา ยกย่องให้เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของโลก

เรียบเรียงจากใน Books Blog ของ guardian.co.uk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น