วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ขนมไทยโบราณ


<
คราไปเที่ยวอัมพวา ถิ่นขนมหวานรสอร่อยเมื่อนานมาแล้ว พี่ๆ คนทำขนมใจดี อธิบายความหมายขนมไทยโบราณ (แต่ไม่ยอมบอกสูตร แสดงว่าใจดีไม่หมด) แจ่มแจ๋ว

เอิงเปอเดอเลยปัดฝุ่น รัดเข็มขัดข้อความให้กระชับ แล้วก็จับยัดลงบล็อกให้สนิทซะเลย

เดี๋ยวจะหาว่าไม่มีอะไรไทย...ไทย

นี่ล่ะ!!! ไทยพอไหม


ขนมชั้น


เป็นขนมพื้นบ้านที่ชาวอัมพวาทำเป็นเกือบทุกบ้าน ในสมัยก่อน เวลาเทศกาลปีใหม่ หรืองานบุญ นิยมทำขนมชั้นเป็นหลัก เพราะความหมายดี ส่วนผสมมีแป้ง กะทิ น้ำตาล สีธรรมชาติอย่าง ใบเตย ดอกอัญชัน ตัวชั้นนิยมทำ 9 ชั้น จุดเด่นที่สำคัญของขนมชั้นคือ สีสวย มันเป็นเงางามจากกะทิ แต่ละชั้นที่รวมกันหมายถึงความเป็นปึกแผ่น ฐานะมั่นคงในหน้าที่การงาน เลื่อนชั้นสูงขึ้นทุกๆ ปี รูปแบบขนมชั้นสมัยใหม่หลากหลาย เช่นพับเป็นดอกกุหลาบ บ่งบอกถึงความสุข สดชื่น สมหวังในสิ่งที่ต้องการ

ขนมขี้หนู

ขนมไทยพื้นบ้าน มีส่วนผสมหลักจาแป้งข้าวจ้าวโม่ นำไปซอยตากแดด แป้งจึงเนื้อสาก ส่วนสีที่ใช้ผสมอาหารมาจากอัญชันคั้น ใบเตยคั้น เวลาจะรับประทานก็โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดฝอยอีกที

ขนมจ่ามงกุฎสูตร ๑

ตำรับเดิมของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๒ เป็นขมไทยโบราณ ส่วนผสมจาก แป้ง กะทิ น้ำตาล ห่อด้วยใบตองตานี นำไปย่างและผึ่งแดด 2 วัน จึงนำใบตองมาเจียน แล้วค่อยนำไปห่อขนมที่กวนเสร็จแล้ว กลัดด้วยไม่กลัดไผ่ จากนั้นตากแดดหนึ่งแดด เพื่อให้ขนมกรอบนอกนุ่มใน ขนมจะเก็บไว้ได้นานวัน

ขนมจ่ามงกุฎสูตร ๒

รูปลักษณ์สวยงาม คล้ายมงกุฎสีทอง มีเม็ดแตงกวาดด้วยน้ำตาลประดับรอบมงกุฎ ส่วนผสมหลักจากแป้ง กะทิ น้ำตาล ไข่แดงไข่ไก่ แต่เดิมขนมชนิดนี้มีชื่อว่า ‘ทองเอกกระจัง’ หรือดาราทอง ใช้เป็นขนมในพิธีการต่างๆ เป็นของขวัญ ของฝากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ชื่อขนมหมายถึงการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง

ขนมเทียนสลัดงา

วิธีทำกวนแป้งให้สุกแล้วหุ้มไสที่ทำจากมะพร้าว แล้วคลุกงาคั่ว จากนั้นจึงห่อด้วยใบตองสด ห่อเล็กๆ พอดีคำ จัดใส่กระเช้าที่สานจากใบมะพร้าว ก็สวยน่ารัก เก็บไว้ได้นานถึง 7 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น