วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารค่ำท้ายคืน : การผจญภัยค้นพบอาหารสเปน




ผู้เขียน พอล ริชาร์ดสัน
สำนักพิมพ์ บลูมส์บูรี่

ลองแปล--นงนภัส

บทนำ

จริงแล้วที่ว่า การเดินทางท่องเที่ยวช่วยขยายขอบเขตจิตใจ ทว่าการเที่ยวเช่นกลุ่มทัวร์ขนาดใหญ่จอดรถให้เดินชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ หรือวันหยุดสุดสัปดาห์ ผู้คนบินลัดฟ้าด้วยสายการบินงบประมาณน้อย นั่น...ไม่มีทางเปิดขอบเขตจิตใจให้กว้างได้มากเท่าไรนัก

การเข้าใจความเป็นจริงเกี่ยวกับประเทศและวัฒนธรรมนั้นๆ ทลายเวลาเกือบทั้งชีวิต ปีแล้วปีเล่าล่วงผ่าน ถึงกำเนิดอายุแห่งช่วงเวลา โดยใช้สิ่งที่ปฏิบัติสม่ำเสมอเป็นเกณฑ์วัด

ภาพที่ปรากฎผิวเผินสร้างความประทับใจอันดับแรก ด้วยความสวยงามน่าอภิรมย์ น่าจับจ้องค้นหา สวยสะดุดตา หรืออย่างน้อยที่สุด สภาพนั้นก็ไม่ได้น่าเกลียดน่าชังแต่อย่างใด ทั้งยังยืนยันความรู้สึกนึกคิดจากสายตาที่ทอดมอง หรือไม่ก็ผุดถามคำถามที่ใหญ่ขึ้น เขย่าสมองให้ครุ่นคิดค้นหา ดังนั้น พวกเราจึงดึงมุมต่างๆ ของสถานที่ บอกเล่าเรื่องราวส่วนตัวด้วยถ้อยคำซึ่งแก่นแท้แล้วก็มีกลิ่นรสเช่นเดียวกัน

บางสิ่งรับประกันว่า เป็นผลกระทบตามธรรมชาตินับพันปีของความแปลก เราเคยต่อต้านรสชาติผิดธรรมดานั้น ทว่า พวกเราก็ยอมรับรสชาตินั้นทีละน้อย นั่นเป็นวลีที่จริงและลึกซึ้งแท้ บอกเป็นนัยเลาๆ ว่า ประสบการณ์ว่าด้วยอาหารการกิน เป็นมากกว่าภาพประทับใจหรือวัตถุภายนอก ทว่าที่สุดแล้ว ยังกำซาบและครอบงำเรา อาหารเผยว่า เราเป็นใคร มานูเอล วินเซนต์--นักเขียนนวนิยายชาวสเปน กล่าวไว้ว่า การกินเป็นพฤติกรรมลี้ลับเหลือเชื่อ สะท้อนจากสิ่งที่บริโภค

เมื่อยังเป็นหนุ่มรุ่น ผมข้ามชายแดนที่พอต โบ บนรถไฟเที่ยวกลางคืนจากปารีส เวลาล่วงผ่าน ผมก็ยังไม่เคยไปเที่ยวสเปนสักครั้ง แม้ว่าจะมาจากครอบครัวชนชั้นกลาง จากเมืองมีอันจะกินทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ โดยปรกติ พวกเราท่องเที่ยวพักผ่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ในอิตาลีหรือไม่ก็ฝรั่งเศส ดูเหมือนว่าสเปนยังไม่มีกลิ่นรสยั่วใจมากพอสำหรับวงสังคมของเรา ในขณะที่ประเทศอิตาลีและประเทศฝรั่งเศสมีสังคมชั้นกระฎุมพีมั่นคงปักหลักอยู่ ทั้งยังฝังรากลึกแข็งแรง ประเทศสเปนดูเหมือนยังผุพังเสื่อมโทรม โรงแรมห้องพักราคาถูกทอดตัวยาวตามแนวชายฝั่ง ตกแต่งภายในได้น่าสะพรึงกลัว เหมือนอยู่ในทวีปอัฟฟริกาอย่างไรอย่างนั้น ว่ากันสั้นๆ ชื่อเสียงของสเปนก่อร่างไว้อย่างไม่น่าไว้วางใจเลย หากว่า นั่นเป็นสิ่งที่ดึงผมเข้ามาหามันก็เป็นได้

แรกเริ่มเดิมทีประสบการณ์การเดินทางมาสเปน วิถีการอยู่และการกินเป็นไปด้วยความรอบคอบและระมัดระวังยิ่ง มันเป็นช่วงฤดูร้อนยาวนานสองเดือนที่ผมต้องอยู่อย่างมัธยัสถ์ ด้วยการเดินทางด้วยรถไฟข้ามประเทศ กระนั้น ก็เป็นประสบการณ์ยอดเยี่ยม รถไฟข้ามประเทศถือเป็นการเดินทางราคาประหยัด ในยามที่ไม่มีเงินหนาพอจับจ่ายซื้อตั๋วเครื่องบินได้ ไม่มีแม้โทรศัพท์มือถือ และไม่มีอีเมล์เพื่อติดต่อกับทางบ้าน จัดเป็นชีวิตที่รัดเข็มขัดด้านการเงิน ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าขาดเงินสดก็มีปัญหา เพราะเครื่องเบิกเงินยังไม่มีความสลักสำคัญนักในชีวิตของชาวยุโรปตอนใต้ ในฐานะหนุ่มรุ่นกระทงวัย 19 ปี ในวัยนั้น ผมก็ยังไม่มีความน่าเชื่อถือพอจะใช้บัตรเครดิตได้ บ่อยครั้งที่เอาชีวิตรอดด้วยอาหารจากบาร์ราคาถูก เช่น ทอร์ตทิลล่า เดอ ปาตาตาส์ มีตบอลกระป๋อง ปาตาตาส์ บราว่าส์แกล้มซ้อสเผ็ดๆ (ที่นักเรียนรองท้อง) และสิ่งที่ผมเรียกว่า “การขนส่งสาธารณะ” หรือโบคาดิลลอส—ขนมปังก้อนหนาสอดไส้ เช่น ชีส แฮมหรือโชริโซ (ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูนานาชนิด) อย่างไรก็ตาม ไม่เคยมีน้ำมันมะกอก ไม่มีมะเขือเทศหรือของแห้งรสเลิศ

เมื่อยังวัยรุ่น สิ่งที่ผมเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารสเปน เป็นข้อคิดของนักท่องเที่ยวสามัญธรรมดา เช่น เพลล่าและกาซปาโช หรือ กาซปาโชและเพลล่า ความรู้เกี่ยวกับเครื่องปรุงชาติสเปน ถูกเขียนหยาบๆ บนข้างแผ่นไปรษณียบัตร หนึ่งในบรรดานั้น เป็นรูปกระโปรงของนักเต้นรำฟลามิงโก้อันเด่นสะดุดตา ผลมะกอก ผลส้ม หญ้าฝรั่น กระเทียม อะไรอื่นอีก? ตอนนั้น ผมยังไม่คุ้นเคยกับรสชาติอันวิเศษของแฮมสเปน ไม่น่าตกใจเลยที่ผมมารู้เอาตอนนี้ หลังจากการทะเลาะกับความตะกละตะกลาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมคลั่งไคล้ในช่วงต้นศตวรรษที่แปดสิบ ไม่มีอะไรดีพอพอดีรสลิ้น ผมต้องเคยได้ยินมานเชโก ชีส ทว่า แทบจะไม่เคยจินตนาการถึงอย่างอื่น ไวน์สเปนคือเรียวฮ่าหรือเชอร์รี่ และ เชอร์รี่หรือเรียวฮ่า

การทำความรู้จักอาหารสเปนลดย่อมากมหึด้วยคลังภาษาอันจำกัด มีเพียงคำบางคำเท่านั้นที่ผมรู้ และเขินอายเกินกว่าที่จะสั่งอาหารที่ไม่คุ้นเคย งบเงินอย่างนักท่องเที่ยวแบ๊กแพ๊คเกอร์อยู่ในวงเงินให้ใช้เท่าที่จำเป็นอย่างร้ายกาจ ทว่าผมยังชอบตบท้ายช่วงวันด้วยเชอร์รี่สักแก้วและเมล็ดอัลมอนด์สักจาน ผมต้องเคยฝันถึงสิ่งที่คนสเปนแท้ๆ ดื่มกิน แม้ว่าจะติดขัดเรื่องอายุและสถานะในขณะนั้น ด้วยฉากหลังไม่สง่างามของเหล้าก่อนอาหารที่บาร์ตามท่ารถหรือร้านอาหารชั้นประหยัดในโรงแรม ดูเหมือนว่าเบียร์และมันฝรั่งทอด น่าสนใจมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ก็มีมื้ออาหารหลายมื้อที่ไม่เคยลืมเลือน ที่ปงสิอง (บ้านพักราคาถูก) เล็กๆ ในเมืองมาลอร์กันในเดย่า ที่นอกชานท้ายช่วงวันหยุดฤดูร้อน กลิ่นของไม้สนและท้องทะเล จานข้าวกลิ่นจรุงถูกเสิร์ฟ (ข้าวสเปนของแท้จานแรก--เพลล่าเนื้อไก่และพริกไทย...สีเหลืองทองอร่ามตาและมีกลิ่นหญ้าฝรั่นชัดเจน) ดื่มน้ำโรซาโดทำเอง เย็นเฉียบหนึ่งขวด แล้วจับจ้องท้องทะเลยามวิกาลด้วยความอิ่มเอิบ ในขณะที่สายตาพร่ามัวด้วยฤทธิ์แอลกฮอล์

ในเดือนสิงหาคม ฤดูร้อนที่สเปนยังคงเป็นแผ่นดินที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ หลายเมืองใหญ่ๆ เหมือนเมืองผีสิง ชายหาดหลายแห่งผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ป้ายที่แปะติดกระจกร้านค้าและร้านอาหารหลายแห่งอำลาลูกค้าจนกระทั่งถึงเดือนกันยายน เตรียมพร้อมออกสึกกับรายชื่อแขกผู้ติดต่ออันผสมปนเป

ผมร่อนเร่ไปยังประเทศที่ถูกที่สุด รถไฟคืบคลานช้าที่สุด ประเทศสเปนอยู่ในวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เท่าที่รู้ ในช่วงปี 1982 สภาพแวดล้อมยังด้อยพัฒนาและมีเสน่ห์ทางวัฒนธรรมอย่างยิ่ง

ตู้รถไฟหลายขบวน ประตูเก่าครึทั้งยังปิดเสียงดังปึงปัง อากาศอวลด้วยกลิ่นคลื่นเหียน หน้าต่างสามารถดึงลงและแขวนของได้ สบู่ในห้องน้ำป่นเป็นผงแป้ง คล้ายพริกไทยจากโรงโม่ ธรรมดาที่ในเวลานั้น ยังเป็นสเปนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นักท่องเที่ยวด้วยรถไฟยิบยื่นอาหารของตนให้เพื่อร่วมเดินทางรอบข้าง ครั้งหนึ่ง บนรถไฟเที่ยวกลางคืนจากปารีส ครอบครัวชาวสเปนครอบครัวหนึ่งต้อนรับผมอย่างอบอุ่น และเชิญไปร่วมงานเลี้ยงอาหารมื้อค่ำ : แลมป์ช็อปคลุกแป้งขนมปังเสิร์ฟแบบเย็น แซนวิชทอร์ทิลล่า เซอร์ราโน่จามงแผ่นบาง ห่อด้วยกระดาษฟอยล์อลูมิเนียมและกาซปาโช ในถ้วยพลาสติก รินจากโถกักเก็บความร้อนระบบสุญญกาศ

เช้ารุ่งขึ้น ในหนึ่งชั่วโมงที่มุ่งสู่บาร์เซโลน่า หยิบกล่องอาหารปิกนิกออกมาเปิด มีกาเฟ่ คอน เลช และบิสกิตสวีตมาเรีย ผมรับรส รู้สึกว่า ครอบครัวนั้นจุ่มบิสกิตลงในกาแฟอย่างละเมียด การยกถ้วยกาแฟขึ้นจิบ เยี่ยมกว่านำบิสกิตจุ่มกาแฟแล้วนำเข้าปาก นั่นเป็นครั้งแรกที่สัมผัสถึงความอ่อนละมุนของชาวสเปนอย่างมีเหตุมีผล ใช้ความแข็งของขนมปังเป็นพาหนะบรรทุกของเหลวอย่างกาแฟ ขนมปังดูดซึมน้ำซ้อสอย่างฉับพลัน สปอนจ์ เค้ก “ชุ่มฉ่ำ” ด้วยไวน์หวาน และช็อกโกแลตร้อน ที่ใช้เป็นเครื่องจิ้มตกแต่งของทอดและชัวร์รอส(โดนัทสเปนทอด)เป็นทางยาว

ผมมุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายราคาแพงโดยการพักในโรงแรมหลายแห่ง เส้นทางถูกกำหนดโดยวันที่นัดกับคนรู้จักมักจี่ผู้ที่ผมพักที่บ้านพวกเขา หลังจากเยี่ยมเยือนมอลลอร์ซา ผมมุ่งหน้าจากผืนดินห่างไกลมุ่งสู่เมืองมาดริด เมืองที่ผมมีที่อยู่ของเพื่อนร่วมโรงเรียน ที่ย่านซาลามานก้าอันเยี่ยมยอด ผู้ดูแลตึกบอกผมว่า พวกเขาเดินทางไปพักวันหยุดฤดูร้อนที่บ้านพักส่วนตัวริมทะเลในซานเทนเดอร์ บ้านใหญ่ สวนขนาดมหึ ที่นั่งชมทะเลอันเหมาะเจาะติดชายหาดซาร์ดิเนโร่ ผมไม่มีพลาด จึงจับรถไฟขึ้นทางทิศเหนือ ค้นคว้าหาบ้านหลังนั้น แล้วใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ด้วยพลังแห่งวัยเยาว์ของเมืองซานเทนเดอร์ ยามค่ำคืน พวกเราเริงร่าทั่วเมืองอย่างสุดขีดเช่นลูกเศรษฐีในรถหรูระยับ

ในคืนสุดท้าย พวกเราทุกคนออกไปกินอาหารมื้อค่ำมื้อสุดท้าย ผมไม่เคยกินอาหารมื้อสุดท้ายของวันในเวลาเที่ยงคืนมาก่อน แล้วก็พบว่า เป็นความคิดที่ปรนเปรอตัวเองอย่างบ้าคลั่ง เรากินดื่มกันที่อู่เรือท่าตกปลา สภาพร้านอาหารเหมือนโรงอาหาร ขายอาหารซีฟู๊ดให้คนจำนวนมากในสภาพหิวโซจากกิจกรรมที่ทำมาทั้งวันที่ชายหาด กุ้งจานร้อนหรือ อา ลา ปันชา ปลาหมึกยักษ์ชุบแป้งทอด หอยแมลงภู่นึ่งไอน้ำจนฉ่ำ หอยกาบ อาลามาลิเนร่าผักชีฝรั่งและไวน์ขาว ปูยักษ์ต้ม กองหอยสีดำตัวเล็ก ดูเหมือนจะวางระเกะระกะท่วมท้นผ้าปูโต๊ะสีขาว ซึ่งกลายเป็นรอยเปื้อนและยับยู่ยี่ บรรยากาศแห่งความครึกครื้นปกคลุมทั่วห้องอาหารด้วยนักกินผู้มีความสุขนับร้อย ตะโกนข้ามหัวขณะที่อาหารยังเต็มปาก ผู้คนบีบมะนาว จุ๊บหอย บิเปลือกหอย จุ่มขนมปังในน้ำผลไม้เลอะเทอะ แล้วยังดื่มซันเกรียเหนียวๆ อัดน้ำแข็งเต็มเหยือกอึกใหญ่ ที่ตรงนั้นไม่มีอะไรน้อยกว่า การกินอย่างซื่อๆ ของคนสเปน ที่เสียงดัง สับสนอลหม่าน โจ่งแจ้ง ทว่าควบคุมได้ อาหารจานร้อนหลากหลายชนิดทยอยออกมาเรื่อยๆ และพวกเรายังคงกินแล้วก็กิน กระทั่งดึกดื่น ทั้งหมดเป็นสิ่งสัมพันธ์กับผม ด้วยชีวิตจำกัดกรอบและความเป็นพลเมืองอังกฤษ ผมไม่เคยคิดว่า เป็นไปได้ที่จะมีความสุขมากเช่นนี้

หลายปีพ้น ผ่านชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย แล้วใช้ชีวิตอยู่ในลอนดอน หลังสะกดตัวอักษรในฐานะบริกรและลูกจ้างขายไวน์ชั่วคราว ผมก็ประสบความสำเร็จ ด้วยความกล้าหาญก็ได้งานบรรณาธิการงานเขียนประชาสัมพันธ์ ทว่าเมื่อใคร่ครวญย้อนหลังแล้ว ก็ขวยอาย เล่มนั้นชื่อว่า “เทสต์” ใช้เงินลงทุนไม่มากในอู่จอดรถเก่า ใกล้ท่าเรือเก่าแก่ที่ฟูลแฮม

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Arrow Advertorail



Arrow แบบฉบับเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษตัวจริง

ด้วยดีไซน์คลาสสิกหยิบจับมาใส่กี่ครั้งกี่คราก็ไม่เคยล้าสมัย ตอกย้ำให้เสื้อผ้าแบรนด์ Arrow อยู่คู่ใจคู่กายผู้ชายเสมอเหมือนเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ ผู้ไม่เคยทำให้ภาพลักษณ์มาดสุภาพบุรุษชายใดด่างพร้อยมายาวนานกว่า 150 ปี วันนี้ Arrow ยังคงนำเสนอสิ่งใหม่ท้าทายคลังเสื้อผ้าคุณผู้ชายไม่ขาดตกบกพร่อง ภายใต้ทีมงานที่มีชื่อเสียงของ Phillips-Van Heusen (เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าผู้ชายชั้นนำหลายยี่ห้อ อาทิ Calvin klein, Van Heusen และ IZOD) เสื้อผ้าของแอร์โรว์ ไม่ว่าจะเป็นเชิ้ตทำงานผู้ชายซึ่งเป็นไอคอลไอดอลให้แบบเชิ้ตผู้ชายอีกหลากหลายแบรนด์ แตกย่อยรวมไปถึงแอกเซสซอรี่ของผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก จึงย้ำความสำเร็จได้ว่า Arrow คือชัยชนะของไลฟ์สไตล์เครื่องแต่งกายตัวจริง

(ล้อมกรอบ) แอร์โรว์เกิดจากไอเดียของผู้หญิงนิวยอร์กคนหนึ่ง ผู้ฝ่าความสามารถทำให้เชิ้ตธรรมดาดูสดชื่น เรียบคม ทนทานโดยไม่ต้องผ่านการซักรีด หลังจากนั้นก็เกิดกระแส "The Arrow Collar Man" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความนิยมอย่างแพร่หลายของเสื้อเชิ้ตแอร์โรว์ ที่ดีไซน์โดยอาร์ตติส J.C. Leyendecker นิยมสูงสุดถึงขั้นประธานาธิบดีแห่งสหรฐอเมริกายังตบเท้าเป็นแฟนประจำของแบรนด์ หลังจากอยู่ภายใต้ร่มเงาการผลิตของ Cluett American Group มายาวนาน ตั้งแต่ ค.ศ. 2004- ปัจจุบัน PVH หรือ Phillips-Van Heusen Corporation บริษัทออกแบบ ดำเนินการผลิต และทำการตลาดเสื้อผ้าชั้นนำชื่อดัง สืบทอดตำนานเสื้อผ้าแบบฉบับ Arrow ไว้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่มีที่ติ ทั้งยังพัฒนาชิ้นงานอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง

สุภาพคงที่ เท่คงทน

จารจำหัวใจผู้ชายมีระดับหลายยุคหลายสมัย สำหรับเชิ้ตผู้ชาย Arrow ด้วยเนื้อผ้าที่มีคอตตอนเจืออยู่สูง จึงเปี่ยมประสิทิภาพการซับเหงื่อ การตัดเย็บละเอียดลออ มีรายละเอียด ทั้งยังคำนึงถึงรูปลักษณ์อันพิถีพิถันในทุกโอกาส เข้าธรรมเนียม "เรียบหรูทว่าไม่ล้ำ ทั้งยังไม่ช้ำและไม่มีวันเชย"

Arrow Men's Wrinkle Free Pinpoint Solid Long Sleeve

ผู้ใช้ส่วนมากประทับใจเชิ้ตรุ่นนี้ เพราะมีให้เลือกสองสี สีขาวและสีน้ำเงินอ่อนลาเวนเดอร์ ที่เพิ่มความหวานนุ่มให้กับชีวิต ผลิตจากผ้าคอตตอน 60 เปอร์เซ็นต์ โพลีเอสเตอร์ 40 เปอร์เซ็นต์ คงคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์ "Wrinkle Free" ไว้ครบถ้วน สร้างสรรค์ได้อย่างสวยงามและชาญฉลาด กระดุมติดตามยาวลงมากลางลำตัวปกคอแข็ง มีกระเป๋าด้านหน้าใส่ของจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ ที่สำคัญซักเท่าไรเสื้อก็ไม่มีวันหดตัว ครบถ้วนเรื่องความสะดวกสบายและดีไซน์ที่ลงตัว

Arrow Men's Wrinkle Free Sateen Solid Long Sleeve

แคช่วลเชิ้ต มีสีเรียบๆ ให้เลือกหลากสี (Matte Colour) ใส่ได้ในวันทำงานทุกวัน ไม่มีเบื่อ เพราะทรงเสื้อที่ไม่เชย ดูภูมิฐาน สมราคา "ยี่ห้อไลฟ์สไตล์ ผู้ชายอเมริกันของแท้" ผลิตจากผ้าคอตตอน 67 เปอร์เซ็นต์ โพลีเอสเตอร์ 33 เปอร์เซ็ฯต์ การเย็บแน่นหนา รีดเรียบง่าย-ผ้ายับยาก ปกชี้ตั้งตรง คงวัฒนธรรมเสื้อเชิ้ตแอร์โรว์ด้วยกระเป๋าเล็กด้านหน้า เพิ่มความหรูหรามาดคุณผู้ชายเมื่อจับคู่กับเนคไทเส้นสวยสักเส้น

Arrow Wild Orchid Dress Shirt in Purple

เชิ้ตแขนยาวรุ่นนี้มีสีม่วงเข้มเพียงสีเดียว ดูดีในแบบผู้ชายที่มีหัวใจรักแฟชั่น ทว่ายังคงเอกลักษณ์ความเคร่งขรึม ดูดี ไม่หลุดกรอบ ใส่ใจในรายละเอียดด้วยกระดุมยาวลงมาจากปก เม็ดกระดุมสีเทาเข้ม รังดุมผ่าตรง เนื้อผ้าเรียบง่ายยังยาก ผลิตจากคอตตอน 65 เปอร์เซ็นต์ โพลีเอสเตอร์ 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นมิตรต่อการซักทำความสะอาดและซักแห้ง

เขียนหน้า Advertorail


Beautilicious Lip Paints Liquid Lipstick


Beautilicious Dessert Bar



Beautilicious Arch It Right Kit

วาดลวดลายบนผืนผิวสาวให้สวยมาแล้วทั่วโลก Beautilicious สำหรับแบรนด์เครื่องสำอางหน้าใหม่ ภายนอกรูปลักษณ์สวยใสกิ๊กน่าใช้ ภายในแน่นด้วยคุณภาพระดับพรีเมี่ยม ด้วยความเชี่ยวชาญจากเมกอัพ อาร์ตติส ฝีมือเก๋าที่สั่งสมประสบการณ์มาช้านาน คุมบังเหียนบริษัทเครื่องสำอางชั้นนำหลากหลายแบรนด์ จึงไม่ประหลาดใจว่า Beautilicious ตอบโจทย์สาวๆ ผู้รักการรังสรรค์ผิวพรรณให้โดดเด่นเหนือใคร ทั้งด้านเทคนิคเคล็ดลับสารพันความสวย--ส่วนผสมจากประเทศอิตาลี รังสรรค์จากโรงงานผลิตที่เต็มเปี่ยมด้วยศักยภาพ และคุณภาพที่ใส่ใจ ถนุถนอมผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ทั้งยังเป็นมิตรกับธรรมชาติ จึงแน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์ของ Beautilicious เหมาะแก่สาวๆ ผู้ไม่เคยหยุดสวยและฉลาดคิดฉลาดใช้เป็นที่สุด

3 ชิ้น ก็เดิ้นได้

ผู้หญิงนี่คะ ความสวยความงามเป็นเรื่องไม่ควรหลีกเลี่ยงและเสียไม่ได้ ยิ่งไปแจมปาร์ตี้เลิศๆ กับหมู่เพื่อนฝูงด้วยแล้ว รอช้าอยู่ไยคะ เติมความเก๋ไก๋ให้คิ้ว-ปาก-ดวงตา เพียงแค่นี้วงหน้าก็เด่นเดิ้นเหนือใคร รับรองว่า ปาร์ตี้คราวนี้...ราชินีของงานไม่ใช่ใครอื่น คุณนั่นแหละค่ะ!!! xoxo

Beautilicious Arch It Right Kit

คุณก็มีคิ้วไอคอนดั่ง บรู๊ค ชิลด์ส นาตาลี พอร์ตแมน หรือ เซ็กซี่ ไอคอน อย่าง สการ์เล็ต โจฮันสัน ได้ไม่ยาก เติมเต็มความสวยสมบูรณ์แบบด้วยเซ็ต อาร์ค อิต ไรต์ คิต ตกแต่งด้วยลายฉลุแบบคิ้ว 4 แบบ เลือกให้เหมาะกับรูปหน้า สะกัดวิธีถอนขนแบบเจ็บๆ ด้วยคีมหนีบคุณภาพ และเฉดสีแต่งคิ้วหลากหลาย เลือกให้เหมาะกับวาระและโอกาส มาพร้อมคู่มือแสนสะดวกใช้ ราวช่างแต่งหน้ากระซิบแนะนำข้างๆ หู หมดปัญหาเรื่องกันคิ้วเพลินถากจนเว้าแหว่งหรือกันคิ้วเท่าไรก็ไม่ได้รูป ชิ้นงานเปี่ยมประสิทธิภาพที่ Beautilicious ภูมิใจนำเสนอ สวยเลือกได้ของแท้

Beautilicious Dessert Bar

ทบทวีความหวานดั่งลูกกวาดหลากสีสวยให้ดวงตาหวานปิ๊ง เซตอายแชโดว์แพ๊กเกจจิ้งสวยด้วยรูปลายคัพเค้กน่ารัก สีสันน่ากิ๊น...น่ากิน ดั่งคัพเค้กของแมกโนเลีย ที่นิวยอร์ก นำพาสาวๆ ฉีกรูปแบบความสวยอันซ้ำซาก ด้วย 4 เฉดสี--เขียว ฟ้า เหลือง ชมพู โทนพาสเทล เปล่งประกายด้วยซิมเมอร์เนื้อซาติน 3 มิติ สะกดทุกสายตาให้สะดุดหยุด หันหน้า เหลียวหลัง ชะงักงัน มองคุณ

Beautilicious Lip Paints Liquid Lipstick

คิ้วเด่น ตาเด้ง ปากสวยอย่าให้ขาด แต่งแต้มความสวยงามอิ่มเอิบด้วยลิป เพ้นต์ ที่มีความเงางามสูง สีสันเข้มข้น ด้วยเฉดสีหวานแหววน่ารัก ถึง 6 เฉดสี เพิ่มประสิทธิภาพบำรุงสุขภาพผิวริมฝีปากด้วยส่วนผสมของวิตามินอีที่ไม่เหนียวเหนอะรำคาญปาก เท่านี้ก็สวยเซ็กซี่ สมบูรณ์แบบ พร้อมลุย!!!

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เมื่อมื้ออาหารราคาฟรีเป็นส่วนหนึ่งของงานนักเขียน



งานแต่งงานของนักเขียนอาหาร Josh Ozersky และ Danit Lidor ในวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมาในแมนฮัตตันสร้างประสบการณ์สำคัญประทับใจนักกิน

มวลเมฆมากมายเหนือบาร์รูฟท็อปของโรงแรมเอ็มไพร์ อากาศหายใจโล่งอกโล่งคอ ลมเย็นๆ ดลให้พื้นผิวนำในสระว่ายน้ำนิ่งงัน แขกเหรื่อมากกว่า 100 คน รับประทานขนมปังจาก Silliuam Street Bakery ของ จิม ลาเฮย์ จิ้มดิ๊บที่ทำโดยพ่อครัวชาวตุรกี--เชฟ Orhan Yegen พ่อครัวซีฟู๊ดผู้มีชื่อเสียง-เชฟ Ed Brown โชว์ฝีมือจี่หอยเชลล์สดๆ ลาซาญ่าแสนอร่อยผลิตโดย Michael White เชฟของ Merea Alto และ Convivio

เชฟที่ดีที่สุด--Mark Pastore หัวหน้าฝ่ายควบคุมของ The Pat LaFrieda meat company ผู้สนับสนุนเนื้อสตริปลอยด์ดรายเอจรสเยี่ยมจากฟาร์มครีกสโตน Jeffrey Chodorow หุ้นส่วนบาร์และร้านอาหารหรูระยับในนิวยอร์กกและที่อื่นๆ มอบสิ่งที่ดีที่สุดตามธรรมเนียมฮิบรู

อย่างไรก็ตาม, นายโอเซอร์สกีไม่บอกว่า เขาไม่ได้จ่ายเงินค่าอาหารหรืองานจัดเลี้ยงเลย ซึ่งถูกตั้งคำถามโดยนักเขียนวิจารณ์ร้านอาหาร Robert Sietsema บนเว็ปไวต์ Village Voice แล้วเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วโอเซอร์สกีอธิบายลาซานญ่า เค้กแต่งงานสูง 5 ชั้น สร้างสรรค์โดยเชฟขนมหวานของ Mr. White และใช้บาร์ของโรงแรมเอ็มไพร์แสดงเจตนาต่อธารกำนัลเพื่อนสนิทว่า เขาร้องขออาหารมากกว่าคริสตัลหรือเครื่องเคลือบ เมื่อบรรดาเชฟถามถึงของขวัญให้คู่แต่งงาน

"บ๊อบดูเหมือนจงใจให้รู้สึกแย่ๆ เพื่อขู่บังคับขอลาซานญ่า" คำพูดของนายซีเซม่า

ผู้วางแผนงานอีเว้นต์แต่งงานประเมินค่าราคาอาหารและเครื่องดื่มไว้ประมาณ 200-800 ดอลล่าร์ค่อคน ราคาผกผันขึ้นอยู่กับอาหารและเครื่องดื่มที่เลือกไว้ ซึ่งไม่ได้รวมค่าเชฟชื่อดังแต่อย่างใด ทว่า งานแต่งงานก็ไม่ได้มีค่าใช้จ่าย นายโอเซอร์สกีกล่าว "เริ่มโต้เถียงกันในหมู่เชฟ ประชาสัมพันธ์และนักเขียนประชาสัมพันธ์ ส่งที่ปฏิบัติกันมานาน เป็นวนเวียนของการแลกเปลี่ยนมื้ออาหารฟรีๆ กระนั้น ก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องตอบแทน เจ้าของร้านอาหารขอร้องหรือไม่ก็เรียกร้องให้มื้ออาหารฟรีๆ สำหรับนักเขียนบล็อกอาหาร แมกกาซีน เว็บไซต์และไกด์ร้านอาหารออนไลน์ เพื่อให้ร้านอาหารของตนเป็นที่แพร่หลาย ในบทสัมภาษณ์ของนายซีตเซม่ากล่าวว่า นี่เป็น "พื้นที่มืดซึ่งป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์" ถูกผลิตภายใต้สภาพไร้กฎเกณฑ์แน่ชัด (ไม่มีข้อห้ามนั่นเอง)

ทว่า สำนักพิมพ์บางแห่ง อาทิ หนังสือพิมพ์ The New York Times ที่ห้ามนักเขียนรับมื้ออาหารฟรีเพื่อลงข่าวโดยเด็ดขาดและเสมอมา ซึ่งก็มีองค์กรสื่ออื่นๆ ใช้นโยบายนี้เช่นกัน เจนนิเฟอร์ บลูม ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ Mr. White Mr. Chodorow และร้านอาหารชื่อดังอื่นๆ ในนิวยอร์ก กล่าวว่า จำนวนร้านอาหารมากมายที่ต้องการให้ประชาสัมพันธ์มื้ออาหารฟรีเพิ่มมากขึ้นๆ ในไม่กี่ปีมานี้ โจอี้ แคมปานาโร เชฟและเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง Little Owl ในกรีนวิช วิลเลจ กล่าวว่า เขารับคำเรียกร้องขอโต๊ะอาหารฟรีมากมายจากเว็บไซต์ที่อ้างตนว่าเป็น "ซากัตหรือมิเชอลิน ไกด์ หน้าใหม่"

"ผมไม่ชอบเส้นทางนั้น ซึ่งเป็นการไม่ซื่อสัตย์ที่ต้องใช้ของกำนัลล่อให้ใครสักคนช่วยคุณ" แคมปานาโรกล่าว

ความสัมพันธ์อย่างเป็นมิตรระหว่างเชฟ บรรณาธิการ นักเขียนประชาสัมพันธ์และนักเขียนอาหาร มีความสำคัญและน่าสนใจอย่างมากในอุตสาหกรรมร้านอาหาร ทว่าบางคนกล่าวว่า ความสัมพันธ์เหล่านั้นนำพาไปสู่ความยุ่งยาก

"เราต้องการนักเขียนและนักเขียนก็ต้องการเรา" แซม ไฟเออร์ ประชาสัมพันธ์บริษัท The Hall Company "คนเขียนประชาสัมพันธ์และนักเขียนหลายต่อหลายคนไม่สามารถจ่ายมื้ออาหารราคาแพงเพื่อเขียนได้" เขากล่าวอีกว่า "คุณต้องหวังว่าบางคนไม่ได้อยากทำลายสิทธิพิเศษนั้น" แล้วเสริมอีกว่า "ทว่า นักประชาสัมพันธ์ คนเขียนข่าวบางคน ไม่ได้อยู่ในรายชื่อแขกที่ถูกเชิญ เพราะว่าบางคนเป็นแค่นักเขียนอาหารงานโหลดฟรี"

เรื่องราวของการแลกเปลี่ยนอาหารแทนค่าใช้จ่ายเริ่มเพิ่มความกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ เชฟหลายคนกล่าวว่า เพราะความแตกต่างเรื่องกำไรนั้นน้อยกว่าที่เคย

"ไม่มีใครสามารถให้มื้ออาหารฟรีในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้" สก็อต โคเนนต์ เชฟและเจ้าของร้านอาหาร Scarpetta กล่าว "ผมมีลูกจ้าง 300 คน ที่ต้องคิดถึงเป็นลำดับแรก"

แม้ว่านายโอเซอร์สกีดูเหมือนอยู่ในสถานการณ์อันตรายที่อยู่ในวงจรนี้ ในปี 2006 อดัม โรเบิร์ต เขียนไว้ในบล็อก Amateur Gourmet ว่า เขายอมรับมื้ออาหารที่ทำด้วยทรัฟเฟิลขาวฟรีๆ ของอแลง ดูกาส์ ในนิวยอร์ก ตีราคาเป็นมูลค่าสูงถึง 320 ดอลล่าร์ -ขณะนั้นนายโอเซอร์สกี บรรณาธิการที่ Grub Street ฟู๊ดบล็อกแมกกาซีนในนิวยอร์ค เรียกเขาว่า "วงจรการได้รับและตอบแทนระดับเวิล์ดคลาส" และเตือนว่า "มันเป็นผลพ่วงของกำไรซึ่งบิดเบือนความถูกต้อง ถ้าคุณยังเก็บมันไว้" โรเบิร์ตกล่าวว่าประสบการณ์สอนเขาว่า ให้หยุดมื้ออาหารฟรีจากร้านอาหาร หลังจากนั้น นายโอเซอร์สกี ผู้เขียนให้ The New York Times กลายเป็นเสียงที่มีอิทธิพลในวงการสื่อสารมวลชนด้านอาหารในรอบ 10 ปีนี้ เขาเขียนบทความให้ไทมส์ แมกกาซีนและเขียนคอลัมน์รายสัปดาห์ใน Time.com

หลังจากบทความถูกตีพิมพ์ ไทมส์กล่าวว่า บทความเปิดเผยว่า อาหารและสถานที่ที่ใช้นั้นเป็นของกำนัล เป็นสิ่งที่มาจากชีวิตส่วนตัวที่ผูกกับเหล่าเชฟอย่างถูกต้อง "โจช เข้าใจว่าการเปิดเผยเป็นสิ่งที่ต้องทำในอนาคต" ต้นสังกัดกล่าว ทว่า ไทมส์ ไม่ได้ให้คำตอบคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับนโยบายรับของขวัญจากแหล่งข่าว

โอเซอร์สกีย้ำสถานะเขาชัดเจนในคอลัมน์ เขียนไว้ว่า "มันจะทำลายถ้าผมไม่ได้ให้ความกระจ่างชัดมากขึ้น" เขาต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์บบรรดาเชฟ และยังกล่าวอีกว่างานของเขาเป็น "การวิจารณ์และขยายความกระแสในแวดวงอาหาร" ไม่ได้ประพฤติในฐานะนักวิจารณ์นิรนาม

แปลและย่อความจากบทความใน The New York Times เขียนโดย จูเลีย โมสกิน

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Modern Manner แลกอาหารกันชิมและการเป็นเจ้าบ้านงานเลี้ยงอาหารค่ำ



แลกอาหารกันชิม

ถ้าคุณสั่งปลาทว่าสเต๊กในจานของเพื่อนก็ดูดี-น่ากิ๊น...น่ากิน จะทำอย่างไร?

John Morgan ผู้รอบรู้เรื่องมารยาทของเดอะไทมส์ กล่าวว่า "เพื่อนร่วมรับประทานอาหารค่ำที่มารยาทดีที่สุดคือ ผู้ยื่นอาหารที่ตนสั่งให้เพื่อนชิม ก่อนที่จะลงมือรับประทานอาหาร" นั่นคือความเฉลียวฉลาดสูงสุดจริงๆ

การเป็นเจ้าบ้านงานเลี้ยงรับประทานอาหารค่ำ

นักเขียนในสมัยโรมันเขียนบทความสำรวจอันแสนชาญฉลาดว่า "พวกเราไม่เชิญแขกมาดื่มกิน ทว่าเรากินและดื่มด้วยกัน" เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลยถึง 2,000 ปี หรือถ้าคุณกังวลว่าเพื่อนของคุณต้องการอาหารสักมื้อ คุณควรส่งห่ออาหารให้ ซึ่งในตอนนั้นจุดประสงค์หลักของงานเลี้ยงรับประทานอาหารค่ำคือวงสังคม ชักชวนผู้คนมารวมกันเพื่อกินขนมปังอร่อยๆ เล่นเกมอาฟเตอร์เอ้ต และวี๊ดว๊ายชื่นชมความสามารถการทำขนมปัง ขนมอบทั้งหลาย

รายชื่อแขกนั้นสำคัญที่สุด ธรรมชาติของคนนั้นอยากเชิญคนหน้าเก่าซำแล้วซ้ำเล่า (ทั้งหมดทั้งปวง เพราะพวกเขาเหล่านั้นง่ายๆ รู้ดีว่าเจ้าบ้านทำอาหารอร่อยแค่ไหน ดังนั้น เจ้าบ้านเองนั่นแหละที่หายห่วง ไม่จำเป็นต้องพยายามสร้างความประทับใจให้เหนื่อย) ทว่า งานเลี้ยงที่ยอดเยี่ยมขึ้นอยู่กับการผสมผสานแขกเหรื่อไว้ด้วยกัน เพื่อนเก่า คนรู้จักหน้าใหม่ คนที่คุณเลี้ยงอาหารตั้งแต่ในยุคที่คุณประสบความสำเร็จครั้งแรกๆ คนมากมายมองหาและเชิญคนที่มีความสนใจร่วมกันเป็นปรกติ แม้ว่ามันจะทำให้บทสนทนายาวยืด หนักแน่น และมีการคัดค้านทัศนคติที่ตนสนใจ

ถ้าคุณตัดสินใจเชิญแขก ไม่ว่าจะโดยวิธีใด ระบบไปรษณีย์หรือจดหมายอีเลคทรอนิคส์ โทรศัพท์หรือถาม-บอกกันซึ่งๆ หน้า คุณควรจะเว้นระยะห่างเพื่อการตัดสินใจสัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อคิดวางแผนคำขออภัยที่ทำให้เจ้าบ้านยอมรับได้ เจ้าบ้านผู้ฉลาดให้โอกาสแขกไตร่ถามว่า ดินเนอร์ที่จะเกิดขึ้น อยากให้มีอาหารพิเศษอะไร แล้วไม่รับประทานอะไรบ้าง ซึ่งมันจะทำให้คุณหงุดหงิดน้อยกว่าที่จะมองดูแขกเขี่ยวัตถุดิบที่ไม่รับประทานในอาหารที่คุณลงมือทำเป็นชั่วโมงๆ ทิ้ง

ดังนั้น เมื่อเวลาอาหารค่ำมาถึง อาหารที่คุณบรรจงทำ หลังกริ่งประตูบ้านดังขึ้น งานแรกของคุณคือทักทาย แล้วส่งเครื่องดื่มให้บรรดาเพื่อนพ้อง การเดินทางมาเยือนเรียกความกระหายน้ำพอสมควร เครื่องดื่มเย็นและที่นั่งนุ่มสบาย ช่วยให้ร่างกายโล่งโปร่งขึ้น หลังจากนั้นอาจจะเปิดทีวีให้ชม หรือเดินไปที่ครัว หาขนมหรือสเน๊กกรุบกรอบให้แขกเหรื่อ

การวางแผนลำดับที่นั่งอาจมองว่าโบราณ ดูเหมือนเรื่องงี่เง่า แต่เป็นหนทางที่ดีที่แสดงให้เห็นความสามารถพิเศษเพื่อสร้างรูปแบบทางสังคม Emily Post กูรูเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติให้คำแนะนำไว้ว่า "มีข้อผิดพลาดสมำเสมอเรื่องการเชื้อเชิญคนพูดคุยให้ยอดเยี่ยม ผู้ชายฉลาดและผู้หญิงผู้รักการพูดคุยต้องอยู่กับผู้ฟังที่ดี ไม่ใช่คู่แข่ง คนที่เงียบมากๆ ควรถูกประกบด้วยคนคุยสนุก คนโง่งี่เง่าไม่ควรอยู่ใกล้ผู้รอบรู้ และคนทื่อบื้อก็ไม่ควรอยู่ใกล้คนฉลาด เว้นแต่คนทื่อบื้อคนนั้นยังเอ๊าะๆ และเป็นผู้หญิงสวยน่ารักควบคู่กับมีทักษะเป็นผู้ฟังที่ดี และคนฉลาดผู้นั้น เป็นชายที่ชื่นชมความสวยงามและรักการพูดคุย"

เมื่อจบมื้ออาหารแล้ว ทำความสะอาดแล้ว งานของเจ้าบ้านคือทำให้ผู้คนหยุดนิ่งด้วยการเปิดขวดเครื่องดื่มดีๆ (อาจเป็นไวน์หรือเหล้าหลังอาหาร) หลังจากนั้น ก็เป็นเวลาที่เจ้าบ้านรับฟังคอมเมนต์เกี่ยวกับอาหารของคุณ ควรตื่นตัวเข้าไว้ อย่าแสดงอาการง่วงเหงาหาวนอนระหว่างที่แขกยังหลงเหลือ เสิร์ฟไวน์และแอลกฮอลล์แต่น้อย ถ้าไม่อยากทำความสะอาดมาก แล้ววันรุ่งขึ้นตื่นขึ้นมาในสภาพปรกติสุข

คัด-ย่อ-แปล จากบทความ Modern Manner : Sharing Food และ The Dinner party Host ใน WORDOFMOUTHBLOG guardian.co.uk

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

At Julia Child's Kitchen




ในเว็ปไซต์ของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา http://americanhistory.si.edu/juliachild/ ครัวของจูเลีย ไชล์ด ถูกจำลองไว้เป็นภาพสะท้อนวัฒนธรรมงานครัวอขงคนอเมริกัน




ครัวนั้นถูกใช้ทุกวันเพื่อจัดเตรียมอาหาร ทดลองเมนูสำหรับงานโทรทัศน์ ตัวอย่างข้อความออนไลน์ที่อธิบายอุปกรณ์บางชิ้นที่จูเลียใช้ในครัว :

"จูเลียแนะนำอุปกรณ์ของคนฝรั่งเศส เช่น เครื่องตีไข่-นม-เนย (Whisk) ให้สาธารณชน มันล้ำหน้า ก่อนที่คนอเมริกันจะรู้จักอุปกรณ์ที่หลากหลายอย่าง เครื่องตีไข่ (Egg Beaters) ซึ่งเครื่องตีไข่-นม-เนย คืออุปกรณ์ที่จูเลียใช้ในโทรทัศน์ กวาดต้อนชีวิตในครัวของคนอเมริกันครั้งใหญ่ให้ใช้มัน รวมทั้งวางขายในร้านอุปกรณ์เครื่องเรือน"

รู้ก็รู้กันดีว่า จูเลียไม่ใช่เชฟทางรายการโทรทัศน์คนแรก เธอกลายเป็นที่รู้จักและนิยมอย่างรวดเร็ว เสียงร้อง "ฮูเร่!!!" คาแร๊กเตอร์ที่ไม่เหมือนใคร กับเสียงพูดหลั่นต่ำ คล้ายกับเสียงเป็ดตัวใหญ่ๆ กรน ในขณะที่หล่อนกำลังพลิกอาหารฝรั่งเศสจานที่ทำยากแสนในกระทะ จูเลียกลับอาหารได้อย่างง่ายดาย เป็นธรรมชาติ น่ารักน่าเอ็นดู หากแม้นว่า มีข้อผิดพลาดประการใดหล่อนก็เรียกความมั่นใจให้ผู้ชมว่า "ถ้าคุณอยู่ลำพังในครัว ไม่เห็นจะสำคัญเลย ใครจะอยู่ตรงนั้นเพื่อมองคุณล่ะ?"

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ผู้หญิงคนเดียวจะมีอิทธิพลเหนือครัวพลเมืองของประเทศใหญ่เช่นอเมริกาได้ถึงเพียงนี้ แน่นอนที่สุดว่า ไม่ใช่ไชล์ดคนเดียวที่ประสบความสำร็จ ซีโมน (ซิมิก้า) เบค และ หลุยส์เซต เบิร์ธโอลล์ ผู้เริ่มเขียนหนังสือตำราอาหารฝรั่งเศสสำหรับคนอเมริกัน ชักชวนจูเลีย ไชล์ด เข้าร่วม โดยมี จูดิธ โจนส์ เป็นผู้พิมพ์ ก็มีความสำคัญไม่น้อยหน้า ทว่าไชล์ดกลับได้รับความนิยมที่สุด ไชล์ดถูกอ้างอิงบ่อยครั้งว่าเป็น "ผู้หญิงที่สอนคนอมริกันทำอาหาร" หากจะเทียบเชฟหน้าจอที่อังกฤษ คีธ ฟลอยด์ ดูจะมีสไตล์ใกล้เคียงที่สุด แล้วในเมืองไทยล่ะ? คุณหรีด??? ติดอยู่ที่คุณหรีดยังไม่ยอมแสดงฝีมือทำอาหารยากๆ สักที นอกเหนือจากนั้นลีลา ความชำนาญ เสน่ห์การพูด คุณหรีดครบเครื่องอยู่แล้ว!

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Her Influence





Julie & Julia

ผลิตในปี 2009
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา
เวลานาน : 123 นาที
ผู้กำกับฯ : โนร่า เอปรอน
นักแสดงนำ : เมอรีล สตรีพ เอมี่ อาดัมส์ คริส เมสชินา เฮเรน คาเรย์ สแตนลีย์ ทุชชี่


ความน่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ตรงที่ แบ่งเรื่องราวเป็นสองยุคฉายสลับกัน โดยใช้เนื้อหาในหนังสือของจูเลีย ไชล์ดเป็นตัวเชื่อมเรื่องราว ครึ่งเรื่องเป็นการดึงแรงบันดาลใจของผู้หญิงที่อาศัยในนิวยอร์ก--จูลี่ พาเวล ผู้ซึ่งเขียนหนังสือ ด้วยแรงบันดาลใจที่จะทำอาหารตามหนังสือคุ๊กบุ๊กของ จูเลีย ไชล์ด "Mastering the Art of French Cooking" 524 ตำรับ ภายใน 365 วัน โดยในแต่ละวันที่ทำอาหาร เธอละเลงพิมบรรยายประสบการณ์ไว้ในบล็อก เพื่อแชร์สิ่งประสบให้ผู้อื่นอ่าน ในระยะแรกก็ไม่มีใครเข้าดูบล็อก ทว่าไอเดียกลับเตะตานิวยอร์ก ไทมส์ กระทั่งมีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ลงหน้าสไตล์ รูปของจูลี พาเวล ใหญ่หราบนหน้าหนังสือพิมพ์ชื่อดัง หลังจากนั้น บล็อกของเธอก็แน่นไปด้วยผู้คนที่ทั้งเข้ามาให้กำลังใจและวิพากษ์วิจารณ์ หลังจากประสบความสำเร็จล้นหลาม เธอก็เขียนหนังสือชื่อว่า "Julie&Julia" กลายเป็นหนังสือขายดี กระทั่งฮอลลีวู๊ดขอซื้อลิขสิทธิ์สร้างเป็นภาพยนตร์

ฝ่ายอีกครึ่งเรื่องคือ เรื่องราวของจูเลีย ไชล์ด ระหว่างที่เขียนหนังสือคุ๊กบุ๊กเล่มแรกร่วมกับเพื่อนๆ จูเลีย ไชล์ด เริ่มทำอาหารจริงจังเมื่อเริ่มมีอายุแล้ว (ปลายยุคฟอร์ตี้ หล่อนย้ายไปอาศัยที่ปารีสกับสามีผู้ทำงานให้รัฐบาลอเมริกัน ด้วยความสนใจและรักการกินอาหารในร้านอร่อยๆทั่วปารีส หล่อนเรียกประสบการณ์แรกกับคลาสสิเคิล เฟรนช์ กุยซีน ว่า "เปิดจิตวิญญาณและแรงใจของฉัน ติดใจรสชาติจนหยุดไม่ได้ แล้วชีวิตฉันก็เปลี๊ยนไป๋" จูเลียสำเร็จการศึกษาจากเลอ กอร์ดอง เบลอ ปารีส พิมพ์หนังสือเล่มยักษ์ที่ดีไซน์ไว้เพื่อการสอนให้คนอเมริกันปรุงอาหารเหมือนเชฟ (ฝรั่งเศส) หล่อนเรียกมันว่า "servantless"

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

A Cocktail Manifesto



นานมาแล้ว คนอเมริกันถูกคาดหวังว่า พวกเขามีข้อคิดเห็นมากมายเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ค็อกเทลลายเซ็นและวิธีที่ผสม นั่นคือส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ความเป็นชาย เหมือนๆ กับความสามารถย่างเนื้อได้เยี่ยมยอดหรือเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์

แล้วก็ถือกำเนิดคัมภีร์ของนักวิจารณ์เหล้ายาต่างๆ (Spirit) เบอร์นาร์ด ดีโวโต "The Hour : A Cocktail Manifesto" ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1948 ถือเป็นหนังสือเล่มคลาสสิก เป็นความพยายามพัฒนาปรัชญาค็อกเทลยุคแรก พิมพ์มาแล้วเนิ่นนานหลายศตวรรษ ว่า สำนักพิมพ์ Tin House Books จัดพิมพ์ใหม่เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อนำผู้อ่านเข้าสู่สัมผัสแห่งห้วงเวลา 60 กว่าปีที่แล้ว เมื่อผู้คนดื่มมาร์ตินี่เพราะความเชื่อทางศาสนา ไม่ใช่เพราะศาสตร์การผสมผสาน

นายดีโวโต--ปราชญ์แห่งมาร์ก ทเวน เขียนคอลัมน์ "Easy Chair" ใน Harper's เป็นเวลานาน วางกฎระเบียบเรื่องค็อกเทลไว้แน่นหนา สีค็อกเทลห้ามหม่นมืด น่าสยอง ดูแล้วหดหู่ ตัวตั้งตัวตีกำหนดรสชาติ เขาผิดหวังเรื่องกระบวนการการเปลี่ยนแปลงอันแสนผิดพลาดของรสชาติแห่งชาติ ในช่วงยุค "Prohibition" วิพากษ์วิจารณ์พริกถึงขิงด้วยสายตาอันแหลมคมของเขา นายดีโวโต เกลียดเหล้ารัม เพราะเครื่องดื่มจากเหล้ารัมต้องการน้ำผลไม้เป็นตัวช่วย ซึ่งมันเป็นพิษบริสุทธิ์ (Pure Poison) เมนูค็อกเทลทุกๆตำรับ ศัตรูอันดับหนึ่งคือ "The Bronx" เครื่องดื่มที่เป็นการผสมผสานระหว่ง จิน เวอร์มุธ และน้ำส้ม สำหรับนายดีโวโตแล้ว คิดค้นสูตรเฉพะของเขา "ออเร้นจ์ บอซซัม" รู้จักกันดีในช่วงโพฮิบิชั่น

หลังจากที่ เดอะ บรอนซ์ ล้าหลังแล้ว ก็เกิดค็อกเทลที่ชื่อ "Manhattan" เป็นการต่อต้านความเคารพดั้งเดิมที่มี เพราะมันมีเวอร์มุธ "ดรายเวอร์มุธที่ถือว่ามันผิดกฎกับสวีต เวอร์มุธ ที่ทำให้รู้สึกป่วย" เครื่องดื่มแอลกฮอลล์หวานๆ ที่ทำจากรัม เขาไม่ยอมรับความคิดเห็น ถือว่ามันเป็น "ความวิจิตรพิสดารอันถอยหลัง" ค็อกเทลร้อนต้องห้าม เหล้าสก็อตก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ

ความจริงแล้ว นายดีโวโตหดย่อจักรวาลแห่งค็อกเทลด้วยเครื่องดื่ม 2 ประเภท : "วิสกี้แรงๆ ขอดแก้ว" และ "มาร์ตินี่" อย่างแรก แน่นอนว่า ไม่ต้องผสมอะไรทั้งนั้น อย่างที่สอง เขามีสูตรเฉพาะ

ข้อแรกต้องไม่ปรากฎความขมของมะกอก หัวหอม และส้ม

มาร์ตินี่เขย่าได้ คนได้ แต่ต้องไม่มีน้ำแข็งลอยป่องในแก้ว สามารถใช้ที่กรองที่เจาะรูเล็กๆ กรองน้ำแข็งออก

มีเพียงแค่อเมริกัน จิน เท่านั้น ที่ถูกต้องตามกฎค็อกเทล

ที่สำคัญต้องไม่ผสมค็อกเทลแล้วแช่ตู้เย็นไว้ รสชาติจะเปลี่ยน

ระหว่างทำอาจจะฮัมเพลงได้ ทว่าห้ามผิวปาก

และเขายังให้ความเห็นอย่างจริงใจ ไม่มีเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงไม่สามารถผสมมาร์ตินี่แก้วที่เหมาะสมได้


มาร์ตินี่ของดีโวโตใช้สัดส่วน จิน 3.7 ส่วน ต่อ เวอร์มุธ 1 ส่วน หรือถ้าสูงกว่านั้นก็แค่ 4:1 ในเวลานั้นมาร์ตินี่ใช้สัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง เชื่อว่าด้วยมาตราส่วนระดับนี้ จะได้รสดราย จบด้วยน้ำคั้นเปลือกเลมอน 2 หยด ฝานเปลือกเลมอนโดยไม่ให้มีส่วนขาวๆ ติดมาด้วย เป็นขดๆ หย่อนลงไปในแก้วมาร์ตินี่

สุดท้ายก็รู้ไว้ซะ นายดีโวโต้ผู้นี้เองที่ไม่ใช้สูตรเครื่องดื่มดั้งเดิม (Drink Culture) ที่รู้จักกันดี ถึง 90 เปอร์เซนต์

ขบถวัฒนธรรมค็อกเทลชัดๆ

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Food on Film



คอหนังและฟู๊ดดี้ห้ามพลาด! เอิงเปอเดอรวบรวมรายชื่อภาพยนตร์เกี่ยวกับอาหารทั้งในยุโรปและเอเชีย หยิบยกมาจาก WORDOFMOUTH BLOG หยิบยกมาเพื่อการบอกเล่าเท่านั้น

The Ipcress File ไม่มีใครตอกไข่มือเดียวเท่เท่าไมเคิล เคน(รับบท แฮร์รี่ พาล์มเมอร์) ผู้ทำออมเล็ตต์ให้พวกเราชม

Antique กำกับภาพยนตร์โดย Kyu-Dong Min สำหรับผู้ที่รักขนมและร้านเบเกอรี่ (และเหล่าผู้ชายเกาหลี๊เกาหลีหน้าหล่อ)

Food Inc โดย โรเบิร์ต เคนเนอร์ ว่าด้วยเรื่องการเมืองแห่งวงการการเกษตร อาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ระบบร้านอาหารในสหรัฐอเมริกา

Le Grande Bouffe โดย Macro Ferreri หนังดูหม่นมืด รับประทานอาหารแล้วถึงคาด ต้องเรื่องนี้

The Discreet Charm ofThe Bourgoisie กำกับภาพยนตร์โดย ลุยส์ บูนัวล์ ว่าด้วยเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์อาหารเสียทุกสิ่ง ชมแล้วหนาว ขนหัวลุก เรียกว่าไม่มีอะไรควรค่าพอที่จะรับประทาน (ก็เลยสงสัยว่าพวกกระฎุมพีลิ้นสูง มีความสุขในการกินบ้างไหม?)

จุดจุดจุด... แต่ถ้าใครอยากขำขันกับการจำลองชีวิตนักวิจารณ์อาหารแห่งนิวยอร์ก ผู้ซึ่งคิดว่าอาหารอร่อยคือ อาหารที่รับประทานแล้วเสียชีวิตไวๆ เพราะอาหารรสอร่อยส่วนมากแคลอรี่สูง จึงให้ลูกศิษย์ผู้เป็นเชฟชื่อดังควงตะหลิวเข้าครัวทำให้รับประทานซึ่งยัดทนานเท่าไหร่ก็ยังไม่ตาย สุดท้าย น็อกเอาต์ด้วยฮอตดอกรถเข็นที่ชายร่างเตี้ยอ้วนเข็นมาขายหน้าร้านของลูกศิษย์ แนะนำให้ดูซีรีส์เรื่อง Kitchen Confidential (จำไม่ได้แล้วว่าพาร์ทที่เท่าไหร่) ดูแล้วฮา เสียดสีสุดฤทธิ์

ถ้าเป็นภาพยนตร์ที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาเข้มข้น ประเด็นเกี่ยวกับเซ็กส์ อาหารและการเมือง จะเป็นเรื่องไหนไม่ได้ นอกเสียจาก Empire of the Senses หรือ In the Realm of the Senses กำกับฯ โดย นางิสะ โอชิมา อ่านบทวิจารณ์ได้ในหนังสือวิจารณ์ภาพยนตร์เกือบทุกเล่มที่เซียนหนังคนไทยเขียน

Babette's Feast กำกับฯ โดย Gabriel Axel ผู้หญิงซึ่งพลัดถิ่นด้วยเหตุผลทางการเมืองและศาสนา มาพำนักในฝั่งจูตแลนด์ ในช่วงกลางฤดูหนาว โชว์ฝีมือการปรุงอาหารที่ประดับประดาในสไตล์บาร็อกอย่างครบเครื่อง ดึงความรัก การให้อภัย และการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า ความเชื่อในพระเจ้านำทาง เห็นผู้คนจิบไวน์แดงเคล้านกระทงเป็นตัวๆ ก็จากภาพยนตร์เรื่องนี้

Eat,Drink, Man, Woman ภาพยนตร์ของอังลีที่เอิงเปอเดอชอบที่สุด ชมครั้งแรกเพราะเป็นภาคบังคับ วรรณกรรมบนแผ่นฟิล์ม ดูแล้วกระเพาะร้องจ๊อกๆ นึกถึงอาหารเหลา เอาแบบที่มีเล้าเป็ดเล้าไก่ ปูเป็น ปลาเป็น เชือด ตัด หั่น ผัด นึ่งกันเห็นๆ ออกมาต้องมันเยอะๆ เยิ้มๆ)

The Big Night กำกับการแสดงร่วมระหว่างแคมป์เบล สก็อตต์และสเตนลีย์ ทุสซี่ หนังสะพรั่งด้วยเกตุการณ์นิ่ง เงียบงัน มีมนตร์ขลัง นะเสนอประเด็นอาหารและความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชายและน้องชาย หนังเศร้านะ

เลือกชมตามอัตภาพและรสนิยม

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มารยาทสากล : ถ่ายรูปในร้านอาหาร



ในคู่มือที่ชื่อว่า "Etiquette Handbook" บาร์บาร่า คาร์ตแลนด์เขียนไว้ว่า สิ่งที่แบ่งแยกใครต่อใครว่า "เป็นคนบ้านป่าเมืองเถื่อนหรือผู้เจริญแล้ว" คือกริยาท่าทางการวุ่นบนโต๊ะอาหาร ซึ่งฟังดูแล้วค่อนข้างขัดอารมณ์ (ในกรณีที่อยากรับประทานอาหารแบบสบายๆ)และวิถีปฏิบัติอย่างไทยๆ ที่เจริญที่สุดแล้ว อาวุธบนโต๊ะอาหารก็มีแค่ช้อนและส้อม สิ่งที่พอกล้อมแกล้มย้อมใจให้ภูมิใจ นั่นคือ ตั้งขนบธรรมเนียมบนโต๊ะอาหารใหม่ให้เป็นแบบผู้ดีไทย หากเมื่อขึ้นโต๊ะอาหารฝรั่ง เราก็ต้องโกยไล่ตามวิถีตะวันตกอยู่ดี

ถือเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ เมื่อแวะเวียนเข้ามาในร้านอาหาร ยิ่งผู้ที่ชอบเผยแพร่เรื่องอาหาร โดยไม่มีฐานันดรสื่อมวลชนแล้ว โดยเฉพาะพวกบล็อกเกอร์ทั้งหลายนั่นแหละ...ตัวดี! ที่ชอบหยิบยกเรื่องอาหารเจ๋งๆ ที่รับประทานแล้ว ก่อนหน้าที่จะเข้าปาก ก็ถ่ายรูปเพื่อนำไปโพส ไม่ว่าในบล็อก ทวิสเตอร์ หรือเฟซบุ๊ก เจตนาเพื่อถกเถียงบอกเล่าประสบการณ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ตามแต่ที่ท่านตั้งท่านคิด จนไม่รู้ว่า ไอ้การถ่ายรูปบนโต๊ะอาหาร (ในร้านอาหาร) ถือว่าผิดจารีตการรับประทานอาหารมาก

คริส โพเพิล--บล็อกเกอร์ เคยถูกขอให้วางกล้องไว้ไกลๆ สักสองสามนาที--โดยเฉพาะเมื่อเข้ามาในร้านอาหารที่มีชื่อเสียง การถ่ายรูปอาหาร ทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพ เหมือนปาปารัสซี่มากกว่าเป็นคนรักอาหารผู้หยาบคาย หรือคุณเนียมฮ์ บล็อกเกอร์เช่นกัน ครั้งหนึ่งเธอเคยถูกขอให้ลบภาพ หล่อนรื้อความหลังบอกว่า "ราวกับว่าฉันขโมยวิญญาณของแซลมอนรมควันอยู่" บล็อกเกอร์ทั้งคู่กระมิดกระเมี้ยนใช้กล้องถ่ายรูปรูปที่อยากได้ให้เร็วที่สุดตราบเท่าที่จะทำได้ แม้จะมีการบ่นพร่ำของร้านอาหารบางแห่งที่ห้ามใช้แฟลช ห้ามสแน็ปภาพโดยไม่ได้รับอนุญาต และรบกวนผู้อื่นโดยการปีนขึ้นบนเก้าอี้ เพื่อให้ได้รูปถ่ายมุมที่สวยขึ้น

สิ่งที่คุณบาร์บาร่าเขียนในหนังสือที่ถือเป็นสมบัติผู้ดีของชาวตะวันตก เมื่อปี 1962 หล่อนว่าการถ่ายรูปมันเหมือการแสดงข้อคิดเห็นให้อาหาร ซึ่งมันทำให้คุณกลายเป็นคนโง่หยาบคาย ไม่ให้เกียรติอาหาร ความคิดนั้นออกจะคร่ำครึเกินไป หรือว่า (อีกที) ยุคนั้นยังไม่มีบล็อก เว็บไซด์อาหาร ทวิตเตอร์ หรือว่าเฟซบุ๊ก

เห็นไหมคะ ว่าตะวันตกก็ยังถือครองระเบียบมรรยาทหลายฉบับ ที่หมุนไปตามกระแสโลกและผู้ที่ถือข้างข้างใดข้างหนึ่ง เอาเป็นว่า รับประทาน-แสดงกริยาบนโต๊ะอาหารกันแบบรบกวนการรับรู้ทางภาพและเสียงของผู้อื่นแบบพอประมาณ (ในขนาดที่รับกันได้ เช่น เสียงไม่กระแทกกระทั้นโต๊ะผู้อื่น ไก่ในจานคุณไม่กระเด็นไปอยู่ที่โต๊ะตรงข้าม เป็นอันใช้ได้)

แหม...ได้ชื่อว่าอยู่ในสถานที่สาธารณะ ถ้าใครมีประสาทรับรู้ระหงมากนัก ก็เข้าห้องเอ๊กซ์คลูซีฟไปสิคะ ไหนๆ พวกคุณก็จ่ายเงินซื้อสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Giles Coren ถ่ายรูปอาหารเหรอ...หยาบคายชะมัด!



กิลส์ โคเรน นักวิจารณ์อาหารของไทมส์ (เป็นนักวิจารณ์อาหารที่หล่อที่สุด ยืนยันจากภาพถ่าย)ใครๆ รู้ดีว่าข้อวิจารณ์ของเขาอ่านแล้ว เหมือนกำลังนั่งฟังคนแก่โกรธเก่งพร่ำบ่น หัวฟัดหัวเหวี่ยงกับการถ่ายรูปอาหารในร้านระหว่างมื้ออาหาร--พฤติกรรมที่รบกวนสร้างความรำคาญ โกรธแตกทุกครั้งเมื่อมีคนที่ดูเหมือนจะไร้เหตุผลขอโทษขอโพย ซึ่งเขาสันนิษฐานว่าเป็นพวกฟู๊ดบล็อกเกอร์ที่กำลังถ่ายรูปอาหาร เขาให้ความเห็นว่า มันเป็นแฟชั่นบอกยี่ห้อ "ผมคิดว่าการถ่ายรูปอาหารในร้านอาหาร ง่ายและหยาบคาย ไม่มีความเคารพและไร้สมอง มันทำให้คนที่เข้ามากลางร้านอาหาร ไม่อยากเหยียบย่างเข้ามา"

ในทวิสเตอร์, โคเรนให้ข้อยืนยันจุดยืนของเขา โดยอ้างว่า เขาไม่ได้มีปัญหาอะไรกับพวกบล็อกเกอร์ "รูปถ่ายนั้นมันสำคัญน้อยกว่าข้อวิจารณ์ การถ่ายรูปสแน็ปทำให้เชฟ และสตาร์ฟเครียด" (ในที่นี้ดิฉันขอใช้ประสบการณ์ส่วนตัวบอกเล่า อาหารที่ใช้ถ่ายรูป แตกต่างจากอาหารที่เสิร์ฟจริงๆ รูปที่ลงในหนังสือพิมพ์หรือแมกกาซีนมีการใช้กลวิธีตกแต่งหน้าตาอาหารให้ดูดี สาเหตุที่เชฟและสตาร์ฟเครียดน่าจะมาจาก อาหารที่เสิร์ฟบางชนิดไม่เหมาะแก่การถ่ายรูปโดยสิ้นเชิง และเวลาที่ออกโปรดักชั่นถ่ายรูปเป็นช่วงที่ร้านอาหารปิดพักหลังจากเวลาอาหาร ดังนั้น การถ่ายรูปอาหารจึงไม่รบกวนแขกเหรื่อแต่อย่างใด)

ด้านกิลส์ โคเรน ให้ความคิดเห็นไว้ว่า "พวกคนดูแลร้านอาหารให้ข้อสังเกตสองสามประการว่า เป็นการกระทำที่ไม่พึงควร ดูโง่ที่ทำลงไป ข้อแรก เพราะพวกเขาอบรมสตาร์ฟไว้ว่า ไม่ควรมีแสงเสียงเฟลชจากกล้องถ่ายรูป และข้อที่สอง การถ่ายรูปร้านอาหารสร้างความเครียดอย่างมากที่สุด สำหรับร้านอาหารเปิดใหม่ เพิ่งเริ่มเดินเตาะแตะ ว่านี่คือการมาถึงของนักวิจารณ์อาหารที่มีตั๋วใบใหญ่กว่าคนอื่นๆ สำหรับผม...ผมว่ามันน่ารังเกียจ โกรธ-ทนไม่ได้กับสิ่งซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญของการวิจารณ์อาหาร"

ทว่าก็มีบล็อกเกอร์อาหารออกมาโต้แย้งโคเรนเช่นกัน คริส โพเพิล--ฟู๊ดบล็อกเกอร์ อ้างว่า เมื่อ 2-3 ปี ที่แล้ว ที่ร้านอาหาร Tom Ilic "โคเรนนั่งอยู่ที่โต๊ะถัดจากผม เชฟมาถึง พวกเขาก็กอดกัน ยืนทักทายเสียงดัง นั่นมันน่าหงุดหงิดรำคาญใจจริงๆ"

อันว่าการทำให้ธารสาธารณะกลัว กังวลในขณะรับประทานอาหารนอกบ้าน นักวิจารณ์อาหารรู้ดี ดูเหมือนว่าจะมี...หัวเราะเสียงดัง คุยออกรสรบกวนผู้อื่น ตรวจสอบรายละเอียดส่วนประกอบของอาหารทุกประการ หยาบคายกับสต๊าฟ หรือหลงลืมมารยาทประเพณีการรับประทานอาหาร

ดูเหมือนว่า การเป็นนักวิจารณ์อาหารที่สมบูรณ์แบบ เป็นงานที่ไม่เคยมีใครทำมันได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ข้อมูลจาก guardian.co.uk. WORDOFMOUTH BLOG

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องสั้น : ขุดหลุมรัก

ดรุณีนางหนึ่งผู้เพียบพร้อมด้วยความงาม--ผิวงาม ผมงาม ใบหน้างาม รูปร่างงาม มารยาทเรียบร้อย ใจบุญสุนทาน เข้าวัดทำบุญทุกวันพระ นั่นคือสิ่งที่ผู้คนตระหนักถึงดรุณีนางนี้เมื่อวันวัยแรกสาวรุ่น อายุ 15 ปี

ทว่า ภายหลังอายุ 15 ปี อะไรๆ ก็เปลี่ยนไป เมื่อหล่อนพบความรัก หลังจากนั้นหล่อนก็พบว่าหล่อนคือผู้หญิง

ความรักเปลี่ยนโลก

ความรักหมุนโลก

โลกของหล่อนหมุนด้วยความรัก

หลุมรักหลุมแรก ผู้ขุดหลุมกับดักนี้ ไม่ใช่หล่อน ทว่าเป็นหนุ่มรุ่นหน้าตาพอใช้ได้ที่ประทับใจรูปลักษณ์ของเธอตั้งแต่เป็นเด็กสาว ทั้งยังประทับใจไมตรีที่หล่อนหยิบยื่น เขาจึงยื่นความรักมอบตอบแทน ด้วยวิธีมอบสิ่งของเป็นสื่อรักแทนใจ นานวันเข้า เมื่อเขาแน่ใจว่า หล่อนรักเขา สื่อรักแทนใจก็กลายเป็นสื่อรักแทนกาย สัมผัสทางกายสร้างความอบอุ่นให้นาง นางพบวิธีรักลึกซึ้ง นางพบความเป็นหนึ่งเดียว และพบวิธีผลิตนางอีกคน

หลุมรักหลุมที่สองและเป็นหลุมสุดท้ายที่นางใช้ฝังตัวเองตลอดกาล

หลุมรักครั้งนี้ ไม่เหมือนหลุมรักครั้งแรก หล่อนฝึกปรือวิธีทำรักมาอย่างดีแล้ว ความไร้เดียงสาแท้จริงดูเหมือนจะถูกซ่อนอยู่ไว้ลึกจนขุดไม่ถึง มีแต่หน้ากากไร้เดียงสาที่หล่อนใส่ไว้ตลอด เพื่อยืนยันว่าหล่อนเคยเป็นคนเช่นนั้น

รักครั้งสุดท้าย...หล่อนไม่ได้รักเขาหรอก หล่อนคิดเช่นนั้นเสมอมา ทว่า ในระยะแรก หล่อนช่วยเหลือเขาให้พ้นจากหลุมแห่งความเศร้า ที่เขาฝังตัวเองไว้ นางหยิบยื่นความอบอุ่นให้เขาเป็นการปลอบประโลม และดูเหมือนว่า ชีวิตของเขาเริ่มหมุนด้วยความรักอีกครั้ง นางรักเขาเพราะว่า นางสามารถทำให้เขากลับมามีความรักได้อีกครั้ง ทว่า เวลาผ่านไป หล่อนสังเกตเห็นความกล้าๆ กลัวๆ เขาพยายามวิ่งหนีหล่อน นางไม่เข้าใจ และไม่มีวันเข้าใจความรักของเขา หลังจากนั้น หล่อนใช้ความรักไล่ล่าให้เขากลับมา มันได้ผลเป็นครั้งคราว ซึ่งส่วนมากเป็นเวลาที่เขาไร้สติ อยู่ในภวังค์จิตใต้สำนึก ทั้งๆ ที่ร่างกายและจิตใจของเขาต้องการหล่อน ในเวลาปรกติ มันถูกฉาบไว้ด้วยเหตุผล นางหยิบยื่นรักให้เขา และพบวิธีผลิตนางอีกคน

หลุมรักครั้งนี้จะไม่ใช่หลุมรักหลุมสุดท้ายของนางเลย หากว่านางอีกคนนั้นไม่ใช่หลุมดำที่ใครอีกคนพยายามสลัดทิ้ง

หล่อนจบชีวิตรักด้วยการขุดหลุมฝังนางอีกคนไว้ใต้ดิน

หล่อนจบชีวิตหล่อนเองด้วยการทิ้งร่างในบ่วงรัก ความงามที่หล่อนรักนักรักหนาถูกฆ่าโดยรักครั้งสุดท้าย

ร่างไร้ลมหายใจของนางฝังอยู่ในหลุมรักที่นางขุดไว้ชั่วกาล

Next Station : กรุงเทพฯ

เปิดฉาก :ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูใกล้สถานีรถไฟเชียงใหม่ บรรเลงเพลง Somewhere only we khow วง Kaene

ในชามก๋วยเตี๋ยวหมูของร้านที่ไม่มีชื่อร้านประกาศยี่ห้อ รสชาติสมราคาพอประทังท้อง สุรัตน์ทุบเวลาทิ้ง 10 นาที ที่นี่ เขากำลังวิเคราะห์วิจารณ์มันหมูที่ลอยล่องในชามก๋วยเตี๋ยวลายกุ๊กไก่ คำนวนค่าว่าถ้าเขาซดมันหมดชาม ขูดขอดน้ำซุปไม่เหลือหรอ ปริมาณค่าแคลอรี่ที่เขารับต่อวัน สำหรับวันนี้จะพุ่งสูงเกินกว่าร่างกายต้องการหรือไม่ แต่เมื่อคิดถึงกาแฟดำใส่น้ำตาลทรายแดงหนึ่งช้อน ก็ตระหนักว่า ไม่ควรกำจัดมันลงกระเพาะจะดีกว่า เงยหน้ามองเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยว อาเจ๊ผู้ที่มีใบหน้าคล้ายคลึงกับผู้หญิงเชื้อสายจีนหลายต่อหลายคนที่สุรัตน์เคยเห็น พ้นวินาทีนี้ไปสักครึ่งชั่วโมง เขาคงลืมหน้าหล่อนโดยสิ้นเชิง เนื่องจากระบบความทรงจำของสุรัตน์บันทึกสัญลักษณ์จำด้วยลักษณะที่มีเอกลักษณ์ สุรัตน์จ่ายเงินค่าเสียหายที่เขากลืนกินครบถ้วน แล้วเดินสอดส่ายร้านรายทาง หากาแฟดำฆ่าเวลาอีกสัก 10 นาที คำนวนเวลารอรถไฟ ที่เจ้าหน้าที่สถานีบอกเวลาที่รถไฟเข้าชานชลาก่อนที่เขาจะออกมาหาก๋วยเตี๋ยวรองท้อง คงเหลือเวลาอีกสัก 10 นาที หลังจากที่เขาดื่มกาแฟเรียบร้อย ในกรณีที่รถไฟมาตรงเวลา ทว่า ตามสถิติแล้ว รถไฟไทยไม่เคยตรงเวลา ซึ่งถ้าจะหาสิ่งที่สะท้อนเรื่องเวลา--ตารางเวลานัดหมาย มาตรวัดที่เที่ยงตรงตามเวลาประเทศไทยที่สุด ก็คือ เวลาเดินรถรถไฟไทยนี่แหละ เวลาตามเวลามาตรฐานที่กรีนิช ใช้ไม่ได้ผลกับอะไรไทยๆ โดยเฉพาะคนไทย อย่ามองโลกในแง่ใส่สูทผูกไทใส่แว่นนัก ข้อดีของมันนั่นคือบ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นไทย

รถไฟมาช้ากว่าเวลานัดหมายตามเคยคราวนี้ช้าเป็นปรกติ 30 นาที ด้วยโบกี้ที่นั่งชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ไม่มีเบาะนุ่มๆ นั่นคือความสมราคา ที่แลกกับที่นั่งแข็งๆ สิบกว่าชั่วโมง เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมาย...กรุงเทพฯ

สุรัตน์ขึ้นมาจับจองที่นั่งทันทีที่รถไฟมาถึง คนเต็มขบวนรถด่วน เพราะช่วงเวลานี้เป็นสุดสัปดาห์สุดท้ายที่มหาวิทยาลัยในเมืองหลวงปิดเทอมใหญ่ ดังนั้น ผู้ที่หอบหิ้วสังขาร เดินทางพร้อมสุรัตน์ส่นมากก็เป็นนักเรียนนักศึกษาต่างจังหวัด ช้างป่า ช้างเผือกทั้งหลายเคลื่อนขบวนทัพเข้าเมือง รถไฟเที่ยวนี้จึงบรรจุหัวกะทิแห่งภูมิภาคฝ่ายเหนือไว้เต็มทนาน

สุรัตน์รีบนอนหลับทันทีที่นายตรวจตั๋วเดินทางตรวจสอบความเป็นนักเดินทางถูกกฎหมายเรียบร้อยแล้ว เขานอนกุมข้าวของสำคัญ อาทิ กระเป๋าสตางค์และโทรศัพท์มือถือกระชับ มันถูกครอบด้วยถุงพลาสติกที่เขาซุกไว้ในเสื้อเชิ้ตทับด้วยแจ๊กเก็ต

ฝันไป...

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศเย็นฉ่ำ เบาะนุ่ม เทียบอาเขตรถประจำทาง จังหวัดเชียงใหม่

สายสุรีย์น้องสาวสุรัตน์ หันรีหันขวางครุ่นคิดว่า หล่อนจะเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีถูกที่สุดได้อย่างไร วิธีที่หล่อนถนัดที่สุดคือ ไปตามกระแสมวลชนอย่างเงียบเชียบ หล่อนเดินตามคนกลุ่มใหญ่ๆ ใครเหมารถเข้าเมือง หล่อนก็ขอพ่วงไปกับเขาด้วย หล่อนคุ้นชินกับการเป็นตัวแถม ความดาษดื่น ไร้ความโดดเด่น

เข้าเมืองเชียงใหม่โดยรถสองแถวรับจ้าง ลมเย็นๆ ตีหน้าจนผิวตึง กลิ่นเมืองเชียงใหม่คลุ้งจมูก ในเวลาเช้า ปลายฤดูร้อนเยี่ยงนี้ อากาศสดชื่นและไม่หนาวเกินไป ทว่า นั่นแหละ! คือสิ่งที่หล่อนโหยหาจากการเดินทาง เมืองมันจะดูไม่มีชีวิต ถ้าไร้ผู้คนเติบโตและพำนักอยู่

คลื่นความฝันของสุรัตน์เกิดอาการสายฟ้าแล่บ ภาพตัดมาที่โรงแรมแห่งหนึ่ง

ใครสักคนเดินเปิดประตูเข้ามาในห้องสีขาวโพลน เตียงขนาดสองคนนอนปูผ้าปูที่นอนคลุมด้วยผ้านวมสีขาวเรียบร้อยตามมาตรฐานโรงแรม หน้าต่างบานกระจกขนาดใหญ่มองเห็นทิวทัศน์ภายนอกชัดเจน ใครสักคนล้มตัวนอนบนเตียงขาวฟูนุ่มน่าสัมผัส อะไรสักอย่างหล่นทับใครสักคนเข้าเต็มร่าง ใครสักคนทับซ้อนกับอะไรสักอย่าง

ภาพจางลง
ตัดภาพมาที่ห้องน้ำ

อ่างอาบน้ำบรรจุน้ำร้อนครึ่งอ่างเตรียมรอให้ใครสักคนจุ่มร่าง ถอดรูปเงาะ ใส่ชุดเกราะสาวเซ็กซี่ ใครสักคนกลมกลืนไปกับอะไรสักอย่างในอ่างน้ำร้อน จากนั้นก็มีแสงเรืองๆ กระพริบปริบๆ ปิดๆ เปิดๆ ติดตัวอะไรสักอย่าง (หรือว่าใครสักคนแต่เดิม) เรื่อยมา

คลื่นความฝันของสุรัตน์ตัดภาพมาที่สายสุรีย์ที่กำลังเขมือบของดองและอาหารจิ้มเข้าปากในกาดวโรรสและโดยรอบบริเวณกาดนัดข้างๆ อย่างไม่เกรงกลัวพิษร้ายพิษรักในอาหาร หล่อนเป็นคนเช่นนี้แหละ มันทำให้สุรัตน์เหน็ดเหนื่อยกับการดูแลน้องสาวผู้บำบัดอารมณ์ด้วยอาหารการกิน โดยไม่เลือกหน้าผู้ที่หยิบยื่นให้ พี่ชายเคยบอกน้องสาวว่า ฮ่องเต้หรือกษัตริย์สมัยก่อนถูกโค่นราชบัลลังก์ด้วยยาพิษที่เคล้ามากับอาหารทั้งนั้น กระนั้นสายสุรีย์ยังดื้อรั้นกินอาหารไม่เลือกเสมอ หล่อยเคยบอกสุรัตน์ว่า หล่อนเป็นบุคคลไม่สำคัญของโลก ไม่มีใครสนใจหล่อนหรอก และเพราะอาหารมันพูดไม่ได้ ทว่ามันสร้างความพึงพอใจให้หล่อนได้ นั่นมันยิ่งทวีคูนความพึงพอใจ

รถไฟเทียบชานชลาแถวบึงบอระเพ็ด คงเป็นเพราะสายสุรีย์แน่ๆ ที่สร้างแรงบันดาลใจในฝันให้สุรัตน์นึกถึงผัดไทรถไฟอุตรดิตถ์ ราคา 10 บาท เท่านั้น สุรัตน์รับบริการจากคนขาย 1 ห่อใบตอง เขาว่ามันเพียงพอที่จะทำให้เขาหลับยาว ลืมความปวดเมื่อย ขบกระดูกสันหลัง จนถึงกรุงเทพฯ

หลังจากกลั้วปากด้วยน้ำดื่มที่เหลือแล้ว เขาก็จงใจหลับ โดยบังคับให้ตัวเองไม่ฝัน เพราะความฝัน มันทำให้พลังชีวิตของเขาถดถอย ราคาค่างวดของความฝัน ไม่ใช่ดึงชีวิตให้ไม่เป็นชีวิต ทว่ามันสร้างชีวิตขึ้นใหม่ ทิ่มหัวปิรามิด เป็นปิรามิดหัวหลับ โดยเฉพาะในฝัน

สุรัตน์อยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง เขาอธิบายไม่ถูก นั่นเพราะว่า มันคือความฝันแน่ๆ

ที่แห่งนี้เต็มไปด้วยหมอกและควัน สุรัตน์พยายามบังคับตัวเองอีกครั้ง ไม่ให้สายสุรีย์เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพราะคิดว่า น้องคงสำลักควันพิษจุกอกตั้งแต่ 5 นาทีแรก คราวนี้เขาทำสำเร็จ เพราะความฝันไม่เข้มแข็งพอที่จะลากสายสุรีย์มาดินแดนแห่งนี้ได้ สุรัตน์จัดการอย่างไรกับหมอกหนาและควันพิษ เขาใช้ไม้ตายที่เรียกว่า "ในอดีตของใครต่อใคร" ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของสุรัตน์ที่รื้อค้นอดีตของความฝันได้ เขาจัดการหมอกและควันในดินแดนแห่งความฝันด้วยเงาแห่งอดีต ซึ่งไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้นที่มี ใครหลายคนขันอาสาร่วมด้วยช่วยกัน ตบเท้าเข้ามาดูดพิษจากความฝันเสียเกลี้ยงเกลา โดยที่ไม่ต้องใช้อาสาสมัครจนครบคน ชะรอยว่า สุรัตน์ยังมีบุญติดร่างอยู่บ้าง

เขาเดินล่องไปในดินแดนแห่งนี้ เพื่อช่วยเหลือซากคนที่ติดอยู่ เป็นการปลดปล่อยพันธนาการที่รั้งตรึง ในฝันนั้นสุรัตน์พบว่ามันเนิ่นนานเหลือกำลัง ทว่ามันเป็นหนทางเดียวที่ทำให้เขา พ้นจากวงเวียนแห่งนี้

รถไฟเคลื่อนขบวนมาถึงสถานีดอนเมือง สุรัตน์สะดุ้งตื่นจากอาการวนเวียนในความฝันชั่วคราว

--จบ--
ภาพก่อนสุดท้าย--กล้องถอยหลังห่างจากสุรัตน์ไปยังท้ายขบวน ภาพสุดท้าย จบตรงที่รางรถไฟที่มีรถยนต์วิ่งตัดผ่าน
ดนตรีบรรเลงเพลงความเชื่อ ของบอดี้สแลม ฟีซเจอริ่งโดย แอ๊ด คาราบาว

Poetry : อาตมัน & You betray me

อาตมัน

วงกลมแห่งทุกข์แท้ใครสร้างพันผูก
ผิดถูกใครคาดโทษทุกข์เวทนา
ตัวเองไม่รักตัวเองชังแช่งนักหนา
กายในกายาจิตมั่นประคองคง

แท้จริงอาตมันคือบ่วงแห่งความหลง
หลงคิดหลงรู้หลงว่าเป็นหลงในหลง
หลงทางหลงผิดหลงทั้งรู้ว่าคือหลง
เมื่อหมดหลงเช่นหมดลมลมอาตมัน

You betray me!

ตัวตั้งตัวตัวตนตัวโต
ตัวแตกต่างโต้ตอบโต้ต่างตน
ต่างโต้ตอบใต้ตนต่ำตน
ตดต่างตนต่ำต้อยตันติดตม

มาแล้ว! ร็อกเกอร์แห่งวงการนักเขียนอาหาร


Medium Raw : A Bloody Valentine to the World of Food and the People who Cook
โดย แอนโธนี เบอร์เดน
304 หน้า
สำนักพิมพ์บลูมส์บูลี่


เป็นเวลาสิบปีแล้วที่คิตเช่น คอนฟิเดนเชียล ของแอนโธนี เบอร์เดน เขย่าวงการอาหารสั่นคลอน ด้วยหนังสืออาหารในรูปแบบที่ไม่มีใครเขียนมาก่อน และมันก็เป็นหนังสือเล่มที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเขารวบรวมเศษเสี้ยวชีวิตเชฟในนิวยอร์ก ทั้งที่ เลย์ ฮอล์ส หรือ ซัปเปอร์ คลับ อ่านแล้วคล้ายกับไปทัวร์ของวงเดอะ โรลลิ่ง สโตนส์ ที่ตระเวนเปิดการแสดงในปี 1972 เขาบรรยายชีวิตที่เต็มไปด้วยความกดดันสูงอย่างต่อเนื่อง ด้วยร้อยแก้วมุกตลกหยาบโลน ทำงานเหนื่อยเหงื่อหยดแหมะ เลือดตกยางออก พิมพ์ลายนิ้วมือ ดื่มหนักทั้งคืนกับคนทำงานในครัว ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อใช้ชีวิตจริงๆ เปิดให้ผู้อ่านเห็นโลกของการเป็นเชฟ ที่หนักหน่วง ไม่ได้สวยหรู เหมือนมาร์ธา สจ๊วต บนหน้าจอโทรทัศน์ ผู้อ่านจึงร่วมความรู้สึกไปพร้อมๆ กับข้อเขียนของเขา กับกลุ่มแก๊งค์คนทำอาหารที่เท่ ดิบเถื่อนได้ใจ (คล้ายวงการมาเฟียยังไงยังงั้น)

วันนี้หนังสือเล่มใหม่ของเขา "Medium Raw" (ระหว่างนี้ เขาก็เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม) ทว่าไม่มีเล่มใดที่ดำเนินรอยตาม คิตเช่น คอนฟิเดนเชียล เล่มนี้ดูจะคล้ายคลึงมากที่สุด แม้ว่าแตกต่างในรายละเอียด กล่าวคือ เบอร์เดนอายุ 50 ปี แล้ว เลิกยา เป็นพ่อคน ความเฮี้ยนๆ ของเขาสลายไปหมด แม้ว่าภาษายังคงความดิบไว้ ทว่าขอบเขตทางภาษา ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกถึงความมันส์-ห้าว เชื่อมต่อเนื่อง เหมือนคิตเช่น คอนฟิเดนเชียล จึงไม่ถือเป็นหนังสือภาคต่อมาทั้งหมดทั้งปวง

มีเดียมรอว์ ดูเหมือนมีความหลากหลายด้านรูปแบบการนำเสนอ เบอร์เดนสอดแทรกตัวเขาเข้าไปในหลายๆ แขนงในวงการอาหาร ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับตำแหน่งของเขาด้วยความระมัดระวัง ให้นิยามตัวเองว่า เป็นอะไรและไม่ได้เป็นอะไร ถ้าสิ่งไหนที่เขาทำไม่ได้ ก็จะอธิบายอย่างกระจ่างชัด พอๆ กับสิ่งที่เขาเป็น ทว่าสิ่งที่ชัดเจนที่สุดในบรรดาข้อเท็จจริงทั้งหมด นั่นคือ เบอร์เดนไม่ได้ประกอบอาชีพเชฟมืออาชีพอีกต่อไปแล้ว ทว่ากลับเป็นนักเขียนอาหารมืออาชีพแทน เพราะตั้งแต่แขวนชุดขาวเพื่อท่องโลก (เขาเรียกตัวเองว่า "Freaky" แปลว่า แปลกและน่าสะพรึง) แล้วคิตเช่น คอนฟิเดนเชียล ก็ประสบผลสำเร็จ นั่นเพราะเขาใช้ชีวิตโชกเชี่ยวประสบการณ์ในครัว

ในเนื้อหาสาระที่มีเดียม รอว์ เสนอ เบอร์เดนไม่ได้อยู่ในวินัยเชฟอีกต่อไป กลับไปอยู่ในจอแก้ว รื้อโครงสร้างรายการอาหารแบบเก่าๆ ที่ดูปลอมๆ เสียกระจุย (เขาเคยกล่าวไว้ ในคิตเช่น คอนฟิเดนเชียล ชิ้นเนื้อของเขาที่คอยห่วงนิ้วของเพื่อนร่วมงานว่าจะโดนไฟลวกหรือไม่ หรือ "อย่าแตะจู๋ของผม แล้วก็อย่าแตะมีดของผม" หรือ ความเกลียดพวกมังสวิรัติเป็นการส่วนตัว)ทว่า เขาอธิบายวงจรความโง่สุดๆ ของ Food Network (ช่องรายการอาหารชื่อดังของสหรัฐอเมริกา) หรือ ข้อเท็จจริงเรื่องการต่อสัญญา ของราเชล เรย์ เบอร์เดนเล่าเรื่องวงการอาหารและวงการนักเขียนอาหาร และการเป็นนักเขียนอาหารได้อย่างเข้าอกเข้าใจ คาดว่าอีกไม่นานก็คงมีฉบับแปลเป็นภาษาไทยตามมา เหมือนเช่นคิตเช่น คอนฟิเดนเชียล

เรื่องสั้น : ร้องไห้ทำไม???

ดิฉันเป็นคนหนึ่งค่ะ ที่ไม่ชอบเขียนเรื่องตัวเองออกอากาศ

ไมมีวันหรอกค่ะ ที่ใครจะรู้ว่าฉันรู้สึกอย่างไร ชอบ/ไม่ชอบอะไร ผ่านสิ่งที่ดิฉันเขียน เคยได้ยินหรือเปล่าคะว่า...คนที่โกหกที่สุดในโลกนั่นก็คือ...ใช่แล้วค่ะ! ดิฉันคิดว่าเออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์ โกหกเก่งและแนบเนียนที่สุดในโลก

ในงานเขียน, คุณจะเป็นคนต่ำต้อยด้อยค่าไร้ราคาหรือสูงส่งคนเอื้อมไม่ถึงแค่ไหนก็ได้ ใครจะว่าคุณ? หรือใครว่า จำเป็นต้องสนใจนักหรือ?

ถ้างานเขียนนั้นจัดเป็นฟิกชั่น หรือว่าจะเป็นสารคดี คุณก็สามารถเป็นใครก็ได้ ตราบใดที่คุณให้ข้อเท็จจริงกับคนอ่าน ถ้าไม่อยากให้ใครรู้ว่าคุณเป็นใครกันแน่ ก็ใช้นามแฝงซะก็หมดเรื่อง ใส่หน้ากากป้องกันชีวิตส่วนตัวของคุณไว้ ในเมื่อคุณไม่ใช่นักเขียนที่ห้าวหาญ มีความรับผิดชอบ มีจุดยืน มีตัวตน เปิดเผยต่อสังคมสาธารณะ

ในตรรกะที่ว่า ดิฉันจึงจัดเป็นนักเขียนที่หดหัวอยู่ในกระดอง มีจุดยืนในความไม่มีจุดยืน ไม่มีความรับผิดชอบ เพราะดิฉันเป็นนักเขียนนะคะ ไม่ใช่พ่อแม่ของคุณคุณ แล้วคุณก็ไม่ใช่เด็กอายุแปดขวบที่ดูแลตัวเองไม่ได้ ไม่มีตัวตน เพราะงานเขียนของดิฉันจัดอยู่ในประเภทปล่อยผีร้ายในตัว เพราะฉะนั้น สิ่งที่ดิฉันให้คุณได้คือ รสชาติ คล้ายกับว่าคุณเสพภาพยนตร์ การ์ตูน และที่สำคัญ ดิฉันยังเชื่ออีกว่านักเขียนบางคนไม่จำเป็นต้องเป็นดารา ไม่เห็นต้องเปิดเผย ไม่จำเป็นต้องทำให้ทุกคนรัก ดิฉันแสดงผลงาน ไม่ได้ขายหน้าตา ถ้าขายหน้าตา ก็ขายอย่างที่เราเป็น ไม่จำเป็นต้องทำศัลยกรรมในแบบที่พวกคุณชอบ (เชื่อว่าการศัลยกรรมเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมป๊อป ดิฉันขออยู่ในกลุ่มคัลต์ (กรณีที่สักวันมันจะดังน่ะนะ แต่ตอนนี้คงโดนเตะไปอยู่ในกระด้งนักเขียนอัลเทอร์เนทีฟก่อน) ในกรณีที่ต้องจัดวางสถานะของตัวเอง ดิฉันเลือกคนที่ชอบดิฉันด้วยวิธีนี้สะดวกใจกว่า)

เอาล่ะค่ะ! มาถึงบรรทัดนี้ ดิฉันขอร่ำไห้ (ไม่ว่าคุณจะเชื่อว่า ดิฉันเสียใจ หรือว่าโกหกตอแหล) น้ำตาดิฉันก็ไหลพรากๆ เสียแล้ว ดิฉันอยากจะนั่งรถด่วนย้อนเวลาไปถามฟรอยด์ ไม่ก็คาร์ล จุง ถามว่าทำไม พวกท่านถึงไม่วิจัยเรื่องจิตใต้สำนึกในงานศิลปะบ้าง มัววุ่นอยู่กับความฝันยามหลับใหล ทั้งๆ ที่จิตใต้สำนึกยามตื่นน่าสนใจกว่ากันเยอะ ฟรอยด์จะจัดงานศิลปะไร้โครงสร้างไว้อยู่ในกลุ่มเดียวกับมโนสำนึกของคนยามหลับฝันหรือเปล่าคะ (ถ้ามันไม่ผ่านกระบวนการดัดจริต ตัดเล็มเสียเรียบร้อย) คุณลุงจุงคะ เวลาที่คนเราคิดโดยที่ไม่พูดออกมาเป็นกระสายๆ ทั้งๆ ที่ยังตื่น มันคงไม่จัดเป็นจินตนาการนะคะ และมันก็คงไม่ได้เป็นความฝันด้วย อยากให้คุณลุงจุงศึกษาประวัติศาสตร์จิตใต้สำนึกยามตื่นค่ะ ดิฉันขอคุณช้าเกินไปใช่ไหมคะ

ดิฉันสะอึกสะอื้น ไร้วี่แววคนมองเห็น ทางพระ, ท่านว่ากระบวนการร้องไห้นี่ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันง่ายๆ เพราะคุณต้องรื้อความเจ็บปวดทั้งหมดทั้งปวง มานั่งใคร่ครวญ บังคับเพ่ง ให้ตัวเองตกอยู่ในสภาพเศร้าโศกเสียใจ ยิ่งร้องไห้หนักหน่วงเป็นเวลานาน นั่นแสดงว่า คุณมีสมาธิในการทำให้อยู่ในสภาวะใจเสียได้ดีเยี่ยม

ยันขั้วความคิดนั้นให้อยู่ฝั่งตรงข้ามความรู้สึกได้เลย ดิฉันกำลังมีความสุขอยู่ มีความสุขอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทุกข์ไม่เคยบังเกิดกับคนที่ไม่คิดว่าปัญหาคือตัวทุกข์ มองว่าดิฉันมองโลกในแง่ดีหรือเปล่าคะ ไม่เลยค่ะ ถ้าดิฉันจัดเป็นคนประเภทนั้น ป่านนี้คุณคงได้อ่านเรื่อง นกผู้อิสระกระพือปีกหักๆ ของมัน แล้วบอกว่าตัวเองเป็นเจ้าเวหาในดินแดนที่ไม่มีใครรู้จัก ท้องฟ้าสีครามผู้ที่คิดว่าท้องฟ้าสีเทาหม่นเศร้า สวยไม่เท่า แต่เราก็เป็นเพื่อนกัน อึ่ม! ดูเป็นคนดีเนอะ ท้องทะเลงามอยากรู้จักภูเขาเขียวขจี เด็กที่มีรอยยิ้มเปื้อนทะเลคลั่งบนใบหน้าวิ่งไล่ฆ่าตั๊กแตนอย่างมีความสุข ทุกตัวอักษรช่างดูอารมณ์ดี มองอะไรตาวาวไปหมด (แต่อย่างว่าคนที่เขียนเช่นนั้นได้ มีใครรับประกันหรือเปล่าว่ารู้สึกคิดอย่างนั้นจริงๆ--ข้อสันนิษฐานแรก เขาเขียนเช่นนั้นเพื่อที่เขาจะสะท้อนตัวอักษรเพื่อจัดกลุ่มประเภทงานเขียนหรือเปล่า--ข้อสันนิษฐานที่สอง มันเหนื่อยมากไหมกับการต้องแสดงออกแบบมีความรักความปรารถนาดีเหลือเฟือ--ข้อสันนิษฐานที่สาม เขาทำใจอย่างไร ให้มองว่า อะไรก็ดี อะไรก็สวยไปหมด--ข้อสันนิษฐานที่สี่ หรือว่าเขาเป็นคนขี้โกหกแบบดิฉัน--ข้อสันนิษฐานที่ห้า)

คราวนี้ก็รู้แล้วนะคะว่า ร้องไห้ทำไม

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Cutting Edge's Softer Side



ศูนย์กลางสินค้ามีดีไซน์ เหมือนที่ปารีสและลอนดอนก็คือเมืองใหญ่ต่างๆ ในสแกนดิเนเวีย รู้เช่นกันดีว่า เบลเยี่ยม มีสินค้าตกแต่งภายในสวยงามไม่แพ้ที่ไหนในยุโรป ทว่า นักช้อปตระหนักว่า จะพบร้านรวมสินค้าดีไซน์ (เบลเยี่ยมเฟอร์นิเจอร์) ที่อยู่แถวหน้าสินค้าหรูหราแบบไม่ตั้งใจเกิน (Rough Luxe)งานโมเดิร์นที่รูปทรงมีเหลี่ยมมีมุมแบบมินิมัลลิสต์ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติและเบาบาง หรือไม่ก็เป็นชิ้นงานโลหะ ดีไซเนอร์ชาวเบลเยี่ยมค้นพบรูปทรงต่างๆ ที่ดูสวยเปล่งประกาย โดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ลินิน ไม้และหิน ด้วยท่วงสีเอิร์ธโทน เช่น สีเทา สีเบจและขาว ดูเท่ ไม่รก ไม่มีปล่องควัน หม่นเย็น ทึมเทา--เห็นได้บ่อยครั้งจากงานดีไซน์ของอิตาลี จึงถูกกล่าวว่ามันเป็นงานที่ "จริง ดูแข็งๆ ทว่าสะดวกสบาย"

สไตล์นั้นสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเบลเยี่ยม บ้านแบบเบลเยี่ยมดั้งเดิม บ่อยครั้งเป็นบ้านที่สร้าด้วยกแถวหิน บ้างถูกทำขึ้นมาใหม่ด้วยการผสมผสานที่ก่อขึ้นไม่ให้รกรุงรัง ตกแต่งด้วยของโบราณ อัลลอยและแก้ว ความโอ่อ่าสง่างามนั้นผสมผสานด้วยสิ่งที่สมดุลระหว่างธรรมเนียมประเพณี เข้ากับดีไซน์มีเหลี่ยมมีมุม ด้วยรสนิยมส่วนตัวของเจ้าของบ้าน รู้กันดีว่าเบลเยี่ยมเป็นประเทศที่บ้านเรือนดูดี สะดวกสบาย หรูหรา ทว่าไม่ชอบโชว์ คงทน สวยงามไร้กาลเวลา ทว่าศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงงานศิลปะแบบเซอร์เรียลิสต์ น่าดูชมสำหรับคนที่ชื่นชอบงานอาวองการ์ด ดีไซเนอร์ดาวเด่นก็มี Ann Demeulemeester และ Dries Van Noten งานทดลองของพวกเขาน่าใช้ ประณีตประดิด และราคาสมเหตุสมผล ทั้งยังราคาถูกกว่าในฝรั่งเศสและอิตาลี ที่เบลเยี่ยมไม่มีอะไรหรูหราฟู่ฟ่า ไปเร็ว-มาเร็ว วิธีดีไซน์ก็มาจากตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ได้ออกไปหาไอเดียใหม่ๆ ข้านอก และลองทำสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้น งานดีไซน์ที่ดีที่สุด ถูกรวบรวมชิ้นงานอยู่ในร้านต่างๆ ที่ตั้งอยู่ใจกลาง Antwerp เมืองท่าเรือ ห่างประมาณ 40 กิโลเมตร จากทางเหนือของบรัสเซลส์ ที่นี่มารถกาชิ้นงานดีๆ ได้หลายหลาก ทั้งงานโมเดิร์นดีไซน์และของโบราณจากศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 20 คุณภาพคับแก้ว ราคาสมเหตุสมผลซึ่งแต่เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นศูนย์กลางงานผ้าตั้งแต่ยุคกลาง และขายเฟอร์นิเจอร์ทำมือ ตัดแต่งเรียบร้อย

คลิ๊กกเข้าไปชมสินค้าตบแต่งภายในที่อยู่ใจกลางเมือง Antwarp ได้ที่

www.axel-vervoordt.com

www.vincentvanduysen.com

www.kaaidesign.be

www.divani.be

www.donum.be

www.magazyn.be

www.obumex.be

www.flamant.com

www.libecohomestores.com

www.barbara-antiques.com

www.63kloosterstraat.com

www.fulleffect.be

www.feldd.be

Subjective--Commune to Living



Ulysses and Us : The Art of Everyday Living
โดย ดีเคลน คีเบิร์ด
399 หน้า
สำนักพิมพ์ ฟาเบอร์


นวนิยายทดลองโดยใช้ถนนต่างๆ ในดับลิน และวันบลูมส์เดย์ที่ผู้คนเฉลิมฉลองให้กับนวนิยายเล่มคลาสสิกของจอยซ์ ที่ติดตริงอยู่ในใจ นั่นคือ "Ulysses" (1922) วรรณกรรมโมเดิร์นนิสต์ชิ้นเอก เฉกเช่น หนังสือเล่มสำคัญของโลกเล่มอื่นๆ "Remembrance of Things Past" ของนักเขียนชาวฝรั่งเศส--มาร์เซล พรุสต์ หรือจะเป็น "The Man Without Qualities" ของโรเบิร์ต มูซิล ทว่า บริบทแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ก็อ้างชีวิตในเมืองซึ่งเป็นฉากเบื้องหลัง วันที่ตั้งเป็นโอกาสพิเศษเพื่อการรำลึกกถึงจอยซ์ 16 มิถุนายน หรือวันบลูมส์เดย์--วันที่หนังสือเกิดในปี 1904 งานเลี้ยงเฉลิมฉลองเกิดขึ้นจาก เมื่อลีโอพอล์ด บลูม และ สตีเฟน ดีคาลูส นั่งอยู่ด้วยกัน หลังจากรับประทานขนมปังโรล เคล้าจิบกาแฟ แล้วใครสักคนก็เอ่ยขึ้นมาว่า "ทำสิ่งนั้นในความทรงจำของฉัน" โดยทุกปีการเติบโตของวัฒนธรรมคัลต์ (หนังสือ หนัง งานเศิลป์ที่เป็นที่นิยมอย่างมากเฉพาะกลุ่ม) เพิ่มขึ้น มันจึงเกิดถนนแห่งการเฉลิมฉลอง ในวันเฉลิมฉลองคนดับลินจะแต่งตัวเลียนแบบตัวละครในหนังสือ ราวกับว่าพวกเขาเหล่านั้นเต็มใจที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในข้อความในนิยาย พวกเขาแสดงละครในฉากต่างๆ (ในถนนเอ็กเซิลส์ ออร์มอนด์ เควย์ และตึกมาร์คาลโลของแซนดี้โคฟ) เพื่อสะท้อนชีวิตในเมืองนี้ในนิยาย

หนังสือเล่มนี้พาท่านเข้าสู่โลกของจอยซ์ด้วยนวนิยาย ซึ่งหลักๆ แล้วก็คือการเดินเล่นตามท้องถนน การกิน จิบชา และเรื่องการใช้ชีวิตในครอบครัวซึ่งไม่ค่อยจะมีความสุข ซึ่งคล้ายกับว่าเหมือนใช้ชีวิตเช่นที่จอยซ์เคยเป็นและเคยอยู่ โดยเฉพาะเอ่ยถึงวันบลูมส์เดย์

จอยซ์เคยอาศัยในปารีส ซึ่งมีกลุ่มคนผู้นิยมสัจจนิยมที่อยู่ในย่านเดียวกับจอยซ์ ผู้ซึ่งเติบโตมากับกลุ่มคนที่เป็นคาทอลิก (ทว่าศาสนาของพวกเขาถูกแทนที่ด้วยความเป็นสาธารณะ ความเชื่อของมวลชน และกลุ่มคนที่เป็นคาทอลิก)ขณะที่จอยซ์อยู่ในขั้วตรงข้ามกับความคิดนั้นๆ โดยงานชิ้นนี้พยายามที่จะรื้อฟื้นบรรยากาศเมืองดับลินเพื่อที่จะเชื่อมต่อความรู้สึกที่หายไป ถึงแม้ว่ายูลิสซิส เป็นหนังสือที่ว่าด้วยความเป็นปัจเจกชนและเขียนโดยเอาตนเองเป็นที่ตั้ง ทว่าฉากในนวนิยายของเขาก็มีสถานที่สำคัญเป็นฉากหลังมากมาย ทั้งห้องสมุด บาร์ หลุมฝังศพ และถนนสายสำคัญๆ นั่นคือกระบวนวิธีและสไตล์การเขียนที่จอยซ์เป็นผู้บุกเบิก

เหล่าตัวละครของจอยซ์นิยมชมชอบเหตุบังเอิญตามท้องถนน การพบกันโดยไม่คาดฝัน และเสนอแก่นเรื่องด้วยฉากต่างๆ ที่ภายหลังประสบความสำเร็จในใจคน นั่นคือ การที่เขามอง "คนบนท้องถนน" จอยซ์มองพวกเขาในพื้นฐานทางวรรณกรรม บลูมส์เดย์เป็นแค่ส่วนหนึ่งในการแสดงความเศร้าเสียใจในช่วงเวลาที่เมืองดับลินอบอวลไปด้วยความรู้สึกในขณะที่เป็นเมืองแห่งความใกล้ชิดผูกพัน

หากกล่าวว่าหนังสือเรื่อง Ulysses and Us : The Art of Everyday Living เป็นความไม่ปรกติในประวัติศาสตร์โมเดิร์นนิสต์ คงไม่เกินจริงนัก เพราะว่ามันเป็นความกลมกลืนระหว่างพวกโบฮีเมียนและพวกกระฎุมพี บรรยากาศในหนังสือบอกว่าพวกบลูมเป็นพวกที่พูดถึงปัญหา ใคร่ครวญคร่ำครวญผ่านการสนทนาในเวลาน้ำชา จิบช็อกโกแลตคาคาว ตามหลักฐานที่กล่าวอ้างไว้ ในทุกวันเท่าที่จะเป็นไปได้ จอยซ์สอนเรื่องที่เกี่ยวกับโลก : วิธีการจัดการกับความเศร้าโศกเสียใจและความสูญเสีย วิธีที่จะเล่าเรื่องตลก และตอนไหน-อย่างไรที่ไม่ควรเล่า วิธีที่เป็นคนจริงใจกับความตายแห่งยุสมัยแห่งการลวง วิธีที่จะเดินไปและคิดไปในเวลาเดียวกัน วิธีที่จะต่อต้านวิธีคิดเรื่องเพศของความเป็นเจ้าของ และวิถีหนทางการดำรงงชีวิต อาหารการกินของผู้คนซึ่งบอกได้ว่าพวกเขาเป็นใคร

ก่อนยุคของจอยซ์ ไม่มีนักเขียนนิยายคนใดใช้ฉากเบื้องหน้า อธิบายกระบวนการความคิด งานบทละครของเช็คสเปียร์ และนวนิยายในศตวรรษที่ 19 เป็นงานที่คนชั้นสูงใคร่ครวญถึงแต่ความตายและการฆ่าตัวตาย จอยซ์เป็นผู้บุกเบิกงานที่ตระหนักถึงคนทั่วไป ชิ้นงานไม่มีอะไรสำคัญเกินกว่าการนั่งดื่มชา ซึ่งเขาเขย่าความคิดผู้คนด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ทว่าเขาไม่เคยทำอะไรที่ผิดปรกติเกินคนธรรมดาเป็น เมื่อเหล่าบรรดาแฟนๆ ของเขาร้องขอจูบมือที่เขาเขียนยูลิสซีส จอยซ์กลับหัวเราะและบอกว่า "ไม่ได้หรอก มือนั่นน่ะ ทำอะไรมานักต่อนักแล้ว"

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องสั้นขายหัวเราะ

เรื่องสั้นขายหัวเราะ 1

บทละครเวทีของเด็กมัธยมต้น

ตัวแสดง 1 : เธอว่าการขโมยมีกี่แบบ
ตัวแสดง 2 : อะไรก็ได้ที่ไปเอาของของเขามาโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตัวแสดง 3 : แล้วไอ้ที่เรียกว่าขโมยหน้าด้านๆ ล่ะ
ตัวแสดง 1 : อันนี้ต้องถามผู้เชี่ยวชาญ
ตัวแสดง 2 : ผู้เชี่ยวชาญอะไร?
ตัวแสดง 3 : ผู้เชี่ยวชาญด้านขโมย

เรื่องสั้นขายหัวเราะ 2

ความเป็นไปได้

จ๊อด : คนเรามีสิทธิความจำเสื่อมไหม?
หมอ : ได้สิ
จ๊อด : แล้วต้องทำไง
หมอ : โง่ไง แค่โง่ก็จำอะไรไม่ได้แล้ว

เรื่องสั้นขายหัวเราะ 3

โชคชะตา

พระเจ้า 1 : เชื่อในเรื่องโชคชะตาไหม?
พระเจ้า 2 : ไม่เชื่อ
พระเจ้า 3 : ก็ดีแล้ว
พระเจ้า 1 : ทำไมเหรอ
พระเจ้า 3 : ก็จะได้ไม่ทั้งซวยและไม่ทั้งโชคดีไง

Louise Bourgeois



หลุยส์ บูร์ชัวส์ เป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง เสียชีวิตในวัย 98 ปี เมื่อถามเกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปินท่านอื่นๆ ในผลงานของเธอ บูร์ชัวส์ไม่เคยอ้างอิงถึงทว่ากลับอ้างถึง แม่ผู้พิการ พ่อผู้จริงใจและซื่อสัตย์ และเครูสอนภาษาอังกฤษ โดยบรรยายครั้นเมื่อหล่อนอยู่ในช่วงชีวิตวัยเด็ก และโรเบิร์ต โกล์ดวอเตอร์ สามีของบูร์ชัวส์ เหตุการณ์แปลกๆ ในการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม คนแรก "Michel" รับเลี้ยงหลังจากแต่งงานไม่กี่เดือน หลังจากนันก็รับเลี้ยงเพิ่มขึ้นอีกสองคน "Alaind" และ "Jean-Louis" บูร์ชัวส์พูดถึงพวกเขาในงานเล็กน้อย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั่วโลกเชื่ออย่างง่ายดายว่าผลงานของเธอ..."ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากช่วงชีวิตในวัยเด็กที่เจ็บปวด" นั่นคือผลงานที่ชื่อ "maman" หล่อนสร้างงานชิ้นนี้เพื่ออธิบายบางสิ่งบางอย่าง ตั้งแต่ยุคไนน์ตี้ต้นๆ อธิบายผลงานได้ว่า "รูปปั้นของเธอถูกปั้นจากประสบการณ์อันเลวร้าย" บูร์ชัวร์ พูดไว้ว่า "ถ้าคุณละทิ้งอดีตไม่ได้ คุณควรจะสร้างมันขึ้นมาใหม่ ปั้นรูปปั้นซะ" นั่นคือ...ถ้างานของหล่อนไม่ได้อธิบายตนเอง พวกเราก็ไม่มีทางรู้ถึงอัจฉริยภาพแห่งการสร้างสรรค์ของเธอได้เลย

ธีมงานที่ดีของเธอถูกวางไว้ให้เป็นงานเล่าเรื่องซึ่งผลิตงานด้วยตัวมันเองมากเท่าที่จะมากได้ สิ่งซึ่งบอกว่าบูร์ชัวส์เป็นคนไม่โกหกและจริงใจคือ เธอสร้างเหตุผลที่น่าเชื่อและการตัดสินใจที่น่าเคารพว่า ; ถ้างานของหล่อนถูกทำให้ลดลง โดยยุคอันรุ่งโรจน์ของนักเขียนประวัติศาสตร์กรณีศึกษารายบุคคล ด้วยชิ้นงานและหลักฐาน ตัวกรณีศึกษาทางประวัติศาสตร์นั่นแหละ ก็เป็นงานศิลป์ หล่อนควรจัดการผลงานด้วยบริบทของหล่อนเอง

บ่อยครั้งที่หล่อนต้องการรวบรวมผลงาน ก่อนที่หล่อนจะกลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ถูกบันทึกว่า แสดงผลงานทั้งหมดที่ Museum of Modern Art ในนิวยอร์ก เมื่อปี 1982 หล่อนก็อายุปาเข้าไป 71 ปี แล้ว จำนวนผลงานทั้งหมด บางชิ้นเพิ่มรายละเอียด และบางชิ้นก็ถูกทำให้ง่ายขึ้น ตามวันปีที่ผ่าน มันเป็นปี 1982 ที่เจ้าของแกลอรี่ที่ฝีมือยังไม่เก๋าJerry Gorovoy เลิกทำงานของเขาที่ Sisney Janis Gollery เพื่อที่จะมาเป็นผู้ช่วยและผู้จัดการของบูร์ชัวร์ เขายังคงมีส่วนร่วมกับ Studio Louise Bourgeois ถึง 28 ปี เขาต้องทำงานโปรดักชั่นด้านเทคนิคมากมาย ซึ่งผลิต Maman เวอร์ชั่นต่างๆ หลายรูปแบบ ให้แกลอรี่ทั่วโลก น้อยคนจะรู้ว่าในปี 1993 Gorovoy เป็นแบบให้สำหรับ The Arch of Hysteria

ในตอนที่โรเบิร์ต โกล์ดวอเตอร์ อายุ 31 ปี พบกับหลุยส์ บูร์ชัวส์ผู้อายุ 27 ปี ในปารีส ปี 1937 โกล์ด วอเตอร์เป็นศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ที่มหาวิทยาลัยสเต็ต ออฟ นิวยอร์ก และเพื่อนสนิทของ Clement Greenberg และ Alfred H Barr ผู้ก่อตั้งและผู้ควบคุม ของ The Museum of Midern Art

บูร์ชัวร์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และเป็นนักเรียนเพอพิชัวร์ อาร์ต (ศิลปะการแสดงต่อเนื่อง)เมื่อหล่อนแต่งงานกับโกล์ด วอเตอร์ ก็เดินทางไปพักกับสามีที่นิวยอร์ก หล่อนเริ่มงาน The Centre of the American Art Establishment ในปี 1941 บาร์ (เพื่อนของหล่อน)ชักจูงนายทุนซื้อรูปปั้นของเธอ (Quarantania for Moma) และในปี 1969 มันถูกแสดงเป็นภาพใน "What Is Modern Sculpture" ของ โกล์ด วอเตอร์

หลังจากนั้นบูร์ชัวร์แสดงชิ้นงานที่เล่าเรื่องความรู้สึกในอดีต เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ศิลปะ ในชิ้นงานแสดงที่เรียกว่า "Confrontation" (1978) แต่ความสัมพันธ์ของหล่อนกับสามีผู้ทรงภูมิรู้ ผู้เป็นเคียวเรเตอร์งานศิลปะยุคแรกๆ ให้ Rockefeller (ที่ไม่เพียงแค่อนุญาตให้หล่อนจัดการงานที่มีเสน่ห์สร้างสรรค์มากที่สุดเท่าที่เคยทำโดยมือมนุษย์)งานนี้เขายังนำให้หล่อนไปสู่ความใกล้ชิด ร่วมงานกับศิลปินในยุโรป เช่น Marx Ernst, Marcel Duchamp, Andre Beton และ Joan Mire หล่อนเคยบอกว่า เกลียดพวกเขา เพราะพวกเขาเหล่านั้นเป็น "บิดาแห่งรูปร่าง" หล่อนยอมรับบางครั้งว่า ไม่ได้รับอิทธิพลอะไรจากงานเหล่านั้นเลย

แม้ว่า การฝึกฝนด้านศิลปะของบูร์ชัวร์ถูกเข้าใจว่ไม่ได้เป็นงานที่มีความคิดต่อเนื่องจากธรรมเนียมของเพศชาย และปฏิกิริยาการต่อต้านธรรมเนียมเพศชาย และหล่อนถูกยกย่องให้เป็นฮีโร่ของเหล่าเฟมินิสต์ หล่อนปฏิเสธ บอกว่ามันไม่ใช่อะไรใหม่นักหรอก "ฉันโชคดีที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ของฉันผู้ซึ่งเป็นเฟมินิสต์ และโชคดีพอที่แต่งงานกับสามีผู้เป็นเฟมินิสต์ และฉันก็เลี้ยงดูลูกชายให้เป็นเฟมินิสต์" หล่อนอ้างถึงความเป็นศิลปินที่ไม่ใช่ศิลปินหญิง ซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ในทัศนคติของเพศชายช่วยอะไรไม่ได้เลย และเป็นอุปสรรคที่จะเข้าใจว่างานของหล่อนคืออะไรกันแน่ ทำไมรูปปั้นผู้หญิงถึงปั้นหน้าอกที่ดูดีเท่าๆ กับตรงช่วงแขน รูปปั้นรูปอวัยวะเปิดเปลือยรูปทรงอวบๆ กลมๆ น่าเกลียด และทำไมงานของหล่อนดูเหมือนยังคงไม่มีเหตุผลและท้าทายความเชื่อ ถ้ามันไม่ใช่ว่า ทั้งหมดทั้งปวงคือชิ้นงานเฟมินิสต์

บูร์ชัวส์กลายมาเป็นศิลปินมืออาชีพ หลังจากผ่านเวลาอันยาวนานในการเป็นแม่ เป็นหม่าย และเป็นหญิงไร้ประจำเดือน เมื่ออายุมาก หล่อนกลายเป็นเด็กอีกครั้ง อิสระที่จะผลิตไอเดียใหม่ๆ ด้วยตัวหล่อนเองและโลกของหล่อน หนักมาก่อนเบา เหล็กกลายเป็นแก้ว ออกไปข้างนอกก่อนกลับมาเข้าใจภายใน ผลงานต่างๆ ที่คงดำรง ถูกทำลายความเชื่อเก่าๆ ทั้งนั้น

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องสั้น : ในสวนแปลกหน้า



ผมคิดว่าที่ที่ดีที่สุด เมื่อเวลาสุขขึ้นสวรรค์หรือทุกข์ทน ที่ตรงนั้นอยู่ในสวน

สวนสวรรค์ของผมไม่ใหญ่ไม่โต แถมยังรกร้างเนื่องจากห่ากินเป็นเวลานาน ผลไม้ ดอกไม้ก็ไม่ได้ดูงามหูงามตา เหมือนเวลาที่ชาวคริสต์นึกถึงเอเดน หลังจากเสียงโครม! เปรี้ยง! ผมรู้สึกจุกท้องอยู่แวบเดียว แล้วก็จำอะไรไม่ได้ เมื่อผมตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ก็พบว่าตนเองกำลังแหวกกิ่งไม้รกเลื้อยนานแสนครั้ง กว่าผมจะหาที่แห่งนี้พบ เหมือนกับที่โคลัมบัสค้นพบอเมริกา ทว่าที่ที่ผมเจอนั้น ไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาดนั้น มันไม่มีทองให้ขุด ไม่มีแม้แต่ทรัพยากรสำคัญๆ อะไร มีเพียงสิ่งมีชีวิตอื่นที่พอประทังท้อง ประคับประคองจิตใจให้ชุ่มชื่นด้วยเสียงนกร้องเพลงเบาๆ ใบไม้ใบหญ้าที่ครั้งหนึ่งผมไม่เคยเหลียวมองมันเลยด้วยซ้ำ

เมื่อวันที่ผมเดินออกจากสวนมา เพื่อไปเผชิญโลกอื่น นอกเหนือจากโลกในสวน เพราะมีใครอีกคนบุกป่าฝ่าดงมาพบผมเช่นกัน ร่างชายคนนั้นผมคุ้นเคย ทว่าเขาบอกว่า เขาไม่มีชื่อ ไม่มีแม้แต่ตัวตน ผมไม่เชื่อ ผมจับร่างของเขา อากาศอันเบาบางนั้นคือร่างของเขา ภาพที่ผมเห็นเขา เขาบอกว่าคือ "สิ่งสมมติ"

"คุณออกจากที่นี่ไปเถิด มันไม่ใช่เวลาของคุณ คุณมาอยู่ก่อนเวลาตั้ง 50 ปี คุณไม่ต้องกลัวว่าใครจะอยู่ที่ที่คุณพบ เวลานี้มันไม่ใช่ของคุณ คุณกลับไปที่เดิมเสียก่อน ผมคงพูดอะไรมากกว่านี้ไม่ได้" ชายที่ผมคุ้นหน้าว่าเช่นนั้น

ผมยังไม่วายสงสัย "แล้วสวนแห่งนี้ล่ะ ใครจะดูแล"

"คุณอย่าสงสัยมากมายนัก คุณไม่ต้องสงสัยเลยเสียดีกว่า"

"ผมอยากบอกสวนว่า ผมรักเขา"

"คุณบอกเมื่อไหร่ ที่ไหนก็ได้ สวนได้ยินเสียงของคุณเสมอ ทว่าผมว่าคุณควรกลับไปแก้ไขสิ่งที่คารังคาซังที่คุณทำทิ้งไว้ก่อนดีกว่านะ เข้าโบสถ์เสียบ้าง มันไม่เสียหลาย และนั่นก็คือการถนอมสวนแห่งนี้ไว้ ผมบอกคุณได้แค่นี้จริงๆ สวนเองก็เต็มไปด้วยภาระและความรับผิดชอบ ซึ่งคุณก็รู้ว่าสวนเองก็กำลังถนอมใครอยู่ ซึ่งมันก็รวมไปถึงแคลิฟอร์เนียเกิร์ลผู้ที่ยังโกรธคุณที่พรากชีวิตที่งดงามของเจ้าหล่อน เขาแบกรับคุณไม่ได้และไม่ไหวในตอนนี้ คุณอาจทรมานกับร่างเดิม มันกินเวลาไม่มาก ร่างกายของคุณก็จะเป็นเช่นดั่งเดิม คุณไม่ได้ศูนย์เสียความเป็นชายชาตรีที่คุณรักนักรักหนาหรอก มันยังอยู่ครบถ้วน เพียงแต่ว่าต้องค่อยๆ ฟื้นฟู จะให้สวนคอยฟื้นฟู มันจะลำบากสวนที่คุณรักนะ คนรักของคุณรออยู่ รีบกลับไปเสียเถิด ผู้ชายไม่ควรทำให้คนรักคนไหนๆ ต้องผิดหวัง มันเป็นคำที่สวนอยากบอกคุณเช่นกัน เอาล่ะ! คุณกลับไปได้แล้ว หลับตาซะ!"

ถ้อยคำของชายผู้นั้นยังกังวานในหู เที่ยงคืนสี่สิบห้า ที่เตียงในโรงพยาบาลย่านสุขุมวิทซอยต้นๆ ผมก็กลายเป็นคนไข้ที่รอดพ้นขีดอันตราย ผมจำอะไรไม่ได้เลย นอกจากคำสามคำที่ผมคงไม่ได้บอกจากปากอีกแล้ว

In Bloom to Tomb



In Bloom to Tomb

When I was young, I played hard.

On Teenage, I had fun.

After that I have done such that thing till I died.

Over That Tomb,

With One White Rose on Sneaker

เบ่งบานคืนสู่โรยรา
เมื่อฉันยังเล็ก ฉันเล่นเต็มที่
ยามวัยรุ่น ฉันสนุกกับความเบิกบาน
หลังจากนั้น มันก็ยังคง กระทั่ง ฉันตาย
บนหลุมฝังศพหลุมนั้น
มันมีดอกกุหลาบสีขาวปักแจกันสนีกเกอร์

S.H. TWICE
Twin Soul, You Khow!
That why I'm a prohibited person
.

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Life Long Journey>>Identity



The Art of Adornment, the Pleasures of Shopping, and Why Clothes Matter
โดย Linda Grant
210 หน้า


ในปี 1883 Emile Zola เตือนว่า ในศูนย์การค้า หลังจากเกิดปรากฏการณ์ฮอลล์มาร์กแบบเดิ้นๆ ในปารีสขึ้น ความเชื่อเรื่องเข้าโบสถ์ถูกแทนที่ด้วยศาสนาแห่งการจับจ่าย แม้ว่า สภาพทางเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันสูง คนเดินเอ้อระเหยในร้านขายของหรูหราโดยชอบธรรม ลินดา เกรนต์ จึงเขียนหนังสือเรื่อง "Thoughtful Dresser" เป็นคำยืนยันอย่างหนักแน่นของคนที่เชื่อในลัทธิบริโภคนิยม เธอว่า "ฉันถูกจ่าหัวไว้แล้ว จ่าหัวไว้แล้วว่าให้เดินทอดน่องยาวที่ถนนบอนด์ (Bond Street) และถูกจ่าหัวไว้แล้วว่าให้เข้าไปแลข้าวของในแอร์เมส และก็ลงชื่อในบัญชีรอกระเป๋าเบอร์กิ้น"

เกรนต์คือผู้เขียนนิยาย "The Clothes on Their Backs" ที่อยู่ในรายชื่อผู้ถูกเสนอรับรางวัล Man Booker Prize ในปี 2008 ทว่าเธอก็พลาดรางวัลนั้น ในขณะนั้นสิ่งที่เธอสนใจก็คือเงินและการช้อปปิ้ง ซึ่งเป็นยารักษาแผล แม้ในเวลาที่หนักหนาสาหัส หล่อนก็ว่า "เพราะฉันอยากจะรู้สึกว่า เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นสิ่งสุดท้ายที่ฉันจะรู้สึกแย่ กดดัน ความกดดันที่ฉันจะรู้สึกว่า ฉันกำลังใส่เสื้อผ้าราคาถูกและน่าหดหู่ คุณจำเป็นต้องซื้อ ซื้อชุดที่คุณจำเป็นสำหรับอนาคตอันน่าอับจน" เสียงแสดงความรู้สึกแบบนั้น ไม่ต่างอะไรกับที่ไม่ต้องแคร์ว่า ต้องทำอะไรบ้าง ในเมื่อได้เงินจากรัฐบาลเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจับจ่ายของหรูหราอะไรไม่ได้เลย

ความสนใจเรื่องเสื้อผ้าของหล่อนนั้น ไม่ได้มาจากการที่ตัวเองอยู่ในกลุ่มคนที่ได้เปรียบมากกว่าคนอื่นในสังคม (elitism) ทว่ามาจากขั้วตรงข้าม จากครอบครัวที่อพยพมาจากยุโรปตะวันออก ที่ตระหนักว่า ตราบใดก็ตามที่พวกเขาดูเหมือนพวกคนที่เข้ากลุ่มไม่ได้ พวกเขาก็จะไม่ได้รับการเอาใจใส่ "เพราะปู่ย่าตายายของฉันบอกว่า เสื้อผ้าของพวกเขาไม่ได้เพียงแค่ส่งสารถึงประเทศใหม่ที่พวกเขาเป็นคนที่เพิ่งเข้ามาอยู่ กาละและเทศะ ทว่าแค่เปลี่ยนเสื้อผ้าพวกเขาก็เปลี่ยน" เรื่องการแต่งตัว "มันถูกยอมรับว่าเป็นกระบวนการของกระบวนการความพร้อมที่ปรับเปลี่ยน ในสิ่งซึ่งพวกเขาจะกลายเป็นคนอังกฤษ"

หล่อนยังเขียนอีกว่า "และเพื่อชัยชนะ ครอบครัวของฉันถือคติประจำใจว่า (แค่ความร่ำรวยที่จะหารองเท้าถูกๆ ใส่ได้ มันแย่กว่าการถังแตกเสียอีก และนั่นก็ดูราวกับว่าคุณอับจนอยู่) ซึ่งคือเสียงสะท้อนที่คล้ายการป่าวประกาศถึงช่วงชีวิตในเวลานั้น

"เสื้อผ้าก็เหมือนการเดินทางเป็นเวลานานเพื่อแสดงตัวตน"..."ฉันพัฒนาเครื่องบ่งชี้ตัวฉันผ่านเสื้อผ้า"..."เมื่อคุณเริ่มแต่งตัวให้ตัวเอง คุณกำลังเริ่มเดินทางอันยาวนานอยู่ เพื่อให้เข้าไปสู่อนาคตของคุณ ยากที่จะสังเกตว่า มันคือการสร้างทุกๆ วัน ของสิ่งที่คุณเป็นผ่านการแต่งตัว"

เกรนต์ใช้กระบวนการบ่งชี้ให้ผู้อ่านเข้าไปใน "การผจญภัยอันยาวนานของเธอ" มุ่งสู่ "การชี้เฉพาะตัวตน"

"ตราบใดก็ตามที่มีสไตล์ใหม่เกิดขึ้น คุณจะต้องใส่มัน เพราะคุณเป็นคนอย่างนั้นแหละ เหมือนว่าเสื้อผ้าคือแฟชั่น และมันก็ต้องเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ...แต่ทุกครั้งที่คุณเปลี่ยนเสื้อผ้า คุณจะค้นพบความแปลกใหม่

"ตอนอายุ 16 ปี ถึงอายุ 60 ปี มันเป็นช่วงเวลาที่คุณต้องใช้เสื้อผ้า เพื่อค้นพบตัวคุณเอง เวลายืนหน้ากระจก จะมองเห็นคนมากมาย ด้วยเสื้อผ้าที่คุณสวมใส่ : เปิดให้เห็นความเป็นไปได้ทั้งหมด นั่นคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่หลากหลาย"

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องสั้นสะท้อนสังคม : ซิมส์ ซิตี้



หลังจากกลับจากโรงเรียน กิฟต์เปิดคอมพิวเตอร์ เช็คอีเมล์ เข้าสู่วงจรสังคมออนไลน์ คลิ๊กเข้าดูคอมเมนต์ของเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก ตอบกลับความคิดเห็น อ่านความคิดเห็นจากข้อความที่เพื่อนตั้งหัวเรื่อง บางคนก็โพสคลิ๊ป โพสเพลง ไว้ให้อ่าน ให้ฟัง ให้ชม แล้วเธอก็เล่มเกมคาเฟ่ เวิล์ด--ตั้งเตาขายอาหาร อยู่ในเลเวลที่ 60 ร้านใหญ่โตพอสมควร ทว่า ยังไม่สามารถทำอาหารระดับสูงได้ เกมมอลล์ เวิล์ด สั่งเสื้อผ้าจากแคตตาล็อกมาขายในร้านส่วนตัว ซี่งเจ้าของร้านเป็นทั้งผู้ขายเสื้อผ้าและเพสันเนล สไตลิสต์ เกมโซโลริตี้ ไลฟ์ เป็นเกมที่จำลองสังคมวัยรุ่นในมหาวิทยาลัยที่แสนเลิศ แข่งขันกันแต่งตัว ขยันออกงานสังคม ซึ่งแต่ละเกมเป็นเกมที่นักเรียนหญิงในโรงเรียนของเธอติดงอมแงม เพื่อนที่อยู่ในเกมคือ เพื่อนๆ ในโรงเรียนของกิฟต์นั่นเอง ตั้งเตา สั่งเสื้อผ้าเข้าร้าน ไปงานอีเวนต์ เสร็จสรรพ จากนั้นก็คลิ๊กที่ไอคอนลัดวงจรบนหน้าจอเข้สู่เกมซิมส์ ซิตี้ กิฟต์สร้างโลกสมมติไว้ในนี้หลายครอบครัว

ที่บ้านตระกูลกฤษดา นายและนางกฤษดานอนหลับสนิทบนเตียงคิงส์ไซด์ที่ใช้สำหรับวู้ฮูเพิ่มเด็กในตระกูล หลังจากที่ลูกคนแรกเสียชีวิต เพราะอยู่กับพี่เลี้ยงผู้ปล่อยปละละเลยให้เด็กคลานเข้าไปในครัว ที่พ่อแม่ของเขาตั้งเตาทำอาหารทิ้งไว้ แล้วจึงไปทำงาน ไฟเกิดไหม้ครัวครั้งใหญ่ เด็กเสียชีวิต พาลพาความสลดโศกเศร้าครั้งใหญ่ให้นายและนางกฤษดา พลังชีวิตละเลเวลหลายขีด ดังนั้น ทั้งสองจึงซื้อเตียงน้ำสีชมพู ตั้งอกตั้งใจวู้ฮูอีกหลายต่อหลายครั้ง เมื่อคืนที่ผ่านมาก็เช่นกัน

06.00 น. พลังงานของนายกฤษดายังไม่ครบเลเวลพอที่เขาจะตื่นอย่างไม่อ่อนล้า ทว่า นางกฤษดาผู้ซึ่งถูกโจมตีอย่างสาหัสสากัณฐ์ ตื่นขึ้นมาซดน้ำวิเศษ เติมพลังชีวิตจนเต็มเปี่ยม ตั้งเตาทำอาหารเช้า ระดับฝีมือทางการทำอาหารในแท่งทักษะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถ้าจะให้เพิ่มมากกว่านี้ หล่อนควรอ่านคุ๊กบุ๊กที่ซื้อไว้ให้จบเล่ม ทว่า หล่อนมีปณิธานชีวิตเป็นเซเลบริตี้ ฉะนั้น การทำอาหารเล็กๆ น้อยๆ จึงมีจุดประสงค์ไว้แค่ให้สามีพึงพอใจเท่านั้น ระดับความสัมพันธ์ของหล่อนและเขาต้องเป็นหัวใจสีแดงฉ่ำ คะแนน 100 เต็ม 100 คะแนน

แม้นว่าหัวใจหล่อนจะถูกย่ำยี รู้ว่าสามีมีเพื่อนหญิงที่สนิทในที่ทำงานถึงระดับความสัมพันธ์หัวใจสีชมพู ทุกครั้งที่หล่อนรับสายโทรศัพท์ ที่ผู้หญิงคนนั้นโทร. เข้าบ้าน หล่อนโกรธเหมือนกินรังแตนมา กระทืบเท้าหัวฟัดหัวเหวี่ยง ระดับความสัมพันธ์ลดฮวบ สามีต้องง้อหล่อนอยู่หลายกระบวนท่า โอบกอดอย่างรักใคร่ ตามด้วยจูบอย่างเร่าร้อน จากนั้นพาไปนั่งบนโซฟาหรูที่ซื้อมาจากแคตตาล็อก ฟัดกันนัวเนียอยู่หลายรอบกว่าระดับความสัมพันธ์กลับมาครบร้อยคะแนนอีกครั้ง

อาหารเช้าได้ที่แล้ว สามีลุกขึ้นจากที่นอนพอดี นั่งรับประทานเซตอาหารเช้าสุดหรู คุยกันหนุงหนิงงุงิ เสียงกริ่งดังขึ้น ภรรยาเปิดประตูรับแขก ซึ่งไม่ใช่ใครอื่นคือ แม่บ้านที่หล่อนจ้างมาขจัดคราบความสกปรก พวกเขาทักทายกันเล็กน้อย นางกฤษดาให้ทิปลูกจ้าง ระดับความสัมพันธ์ของทั้งคู่เพิ่มขึ้น อยู่ในขั้นมิตรที่ดี เสียงโทรศัพท์ดัง นายกฤษดารับสาย ทางภาควิชาวรรณกรรมของมหาวิทยาลัยโทร. มาบอกให้เขาหยุดงานสอน พักร้อนได้ 1 วัน หลังวางสาย นายกฤษดาหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทร.หาเพื่อนสาวคนสนิท ชวนมาเที่ยวที่บ้าน เพราะชั่วโมงให้หลัง ภรรยาจะขับรถไปทำงานที่สตูดิโอภาพยนตร์ที่หล่อนรับบทเป็นนักแสดงนำหนังฟอร์มเล็ก กว่าจะกลับก็ค่ำมืด เพราะหล่อนหื่นกระหายชื่อเสียงมากเกินไป จึงเป็นอุปสรรคต่อการมีลูกคนที่สอง

ภรรยาแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นใหม่ สวยเนี้ยบทั้งตัว หล่อนใช้เงินกับการซื้เสื้อผ้า อัพหน้าและทรงผมมากโข ทั้งคู่จูบกันอย่างดูดดื่ม ภรรยาขับเฟอร์รารี่สีเหลืองเลมอนไปทำงาน

แท็กซี่จอดที่รั้วหน้าบ้าน เสียงกริ่งดังเป็นครั้งที่สองของวัน นายกฤษดาเปิดประตู นางสาวเช้าพัฒนาชู้รักของเขานั่นเอง หล่อนเดินไปหยิบอาหารเช้ามานั่งรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารที่ทำจากกระจกแก้วไฟเบอร์อย่างแพง แม้ว่าระดับความต้องการอาหารของนายกฤษดายังไม่พร่อง เขาก็หยิบอีกจาน นั่งรับประทานเป็นเพื่อน ระดับความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นนิดหน่อย หลังจากที่ขีดพิกัดลดลงเนื่องจากความห่างเหิน สัก 20 คะแนนได้มั้ง สองวันที่ผ่านมา ภรรยากักตัวไว้แจ เพื่อปั๊มลูกคนใหม่นั่นแหละ

ทั้งคู่รับประทานอาหารอิ่มแล้ว นายกฤษดาจึงชวนนางสาวเช้าพัฒนาลงอ่างจากุซซี่ เขาลูบหลังหล่อนอย่างอ่อนโยน หล่อนไว้ตัว เขาจึงพูดคุยแบบเป็นมิตรกับหล่อน ระดับความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เขาจึงจูบหล่อนแบบอ่อนโยนหลายต่อหลายครั้ง กระทั่งระดับความสัมพันธ์กลับมาเป็นหัวใจสีชมพูอีกครั้ง เขามอบช่อดอกไม้ให้เป็นของขวัญ แล้วจูบลาอย่างอ่อนโยน

นายกฤษดาดื่มน้ำเพิ่มพลังชีวิตจนระดับพลังงานเต็มพิกัด อาบน้ำและขับถ่ายในห้องน้ำเสร็จ ก็หยิบวรรณกรรมในตู้หนังสือมานั่งอ่านบนอาร์มแชร์อย่างขะมักเขม้น แม้ว่าทักษะทางวรรณกรรมของเขาจะเต็ม 100 คะแนน แบบไม่มีวันลดมานานแล้ว

นางกฤษดาตะบึงห้อเจ้าม้าพยศถึงบ้าน พลังชีวิตลดลง พลังแห่งวงสังคมเพิ่มขึ้น เธอกำลังปวดท้องถ่ายทุกข์สุดขีด วิ่งอ้าวเข้าสุขาทันทีทันใด สามีซึ่งอ่านหนังสือจบเล่ม แล้วเดินไปที่มุมเครื่องชงกาแฟ ดื่มกาแฟเอสเปรสโซ พลังงานชีวิตเพิ่มนิดหน่อย การขับถ่ายลดขีดพลัง เย็นนี้ครอบครัวกฤษดาจัดงานปาร์ตี้ เชิญแขกคนสำคัญ 2-3 คน นั่นคือเพื่อนบ้านคนสนิท เพื่อนที่ทำงานของนางกฤษดา และหญิงสาวผมบลอนด์ที่นายกฤษดาซุกความสัมพันธ์ลับไว้อีกคน ปณิธานชีวิตของนายกฤษดาคือ ปณิธานแห่งความรัก ดังนั้น การที่นายกฤษดามีรักเล็กรักน้อยเพียงแค่ 2 คน นับว่ายังไม่พอเพียง เพราทางโปรแกรมกำหนดเลเวลนักรักไว้ว่า ต้องจีบผู้หญิงให้ติด (ระดับหัวใจสีชมพู) 10 นาง ขึ้นไป เหลืออีกตั้งแปดคน ล้อมรั้วไว้ให้ดีนะคะ นางกฤษดา

สถานที่จัดงานบริเวณหน้าบ้านผู้คนพลุดพล่าน ทั้งแขกที่ได้รับเชิญและไม่ได้รับเชิญ นายและนางกฤษดาล้อมวงคุยเรื่องสัพเพเหระกับแขกเหรื่อ เด็กๆ ที่มางานซุกชน คนหนึ่งวิ่งเล่นกับโบโซ่ประจำหมู่บ้าน อีกคนเปิดคอมพิวเตอร์ในบ้านเล่น

กิฟต์เซฟข้อมูลการเล่นของบ้านตระกูลกฤษดา แล้วคลิ๊กเข้าบ้านตระกูลชมพูทวีป อันประกอบไปด้วย โจแอลและโจแอล ชายหนุ่มผู้ยากจนผู้ซึ่งรียนจบจากวิทยาลัยซิมส์ ซิตี้ ด้วยทุนรอนรัฐบาล อาศันอยู่ในบ้านเดี่ยวชั้นเดียว ราคาถูกที่สุด ผนังทาสีขาวไข่เป็ด ประตูไม้ราคาถูก ชักโครกห่วยแตก แบบเหมือนชักโครกสาธารณะ สุขภัณฑ์และของแต่งบ้านทุกชิ้นราคาถูกที่สุดเท่าที่มีในแคตตาล็อก

โจแอลและโจแอลกำลังนอนบนเตียงเดี่ยวชั้นเดียว เหมือนที่นอนในโรงเรียนประจำ ชัดเจนเป็นที่สุดว่า โน มันนี่ โน ฮันนี่ ผู้คนในความสัมพันธ์ของโจแอลและโจแอลมีไม่มาก เพราะประหยัด ไม่ค่อยจัดปาร์ตี้ และส่วนมากอยู่ในระดับเป็นมิตรเท่านั้น

ก่อนเวลาเข้าทำงาน 3 ชั่วโมง โจแอลและโจแอลตื่นขึ้นมา เปิดตู้เย็น แล้วพบว่าอาหารเกลี้ยงตู้เย็น เขาคว้าโทรศัพท์สั่งพิซซ่า (อาการราคาถูกในซิมส์ ซิตี้) ระดับความหิวอยู่ในขีดสีแดง บ่งบอกว่า อันตรายมาก ก่อนที่คนส่งพิซซ่าจะซิ่งอาหารแดกด่วนมาส่งถึงหน้าบ้าน เขาอาบน้ำและถ่ายทุกข์ แต่งตัวเตรียมไปทำงาน ชุดนายช่างในโรงงานเต็มยศบนร่างโจแอลแลโจแอล คนส่งพิซซ่ากดกริ่งหน้าบ้าน เขาจ่ายเงิน คว้าพิซซ่าเติมพลังจนหมดถาด ก็ยังไม่เต็มปรอทความหิว รถทำงานบุโรทั่งกดแตรเรียกเขา เสียงดังถี่กระชั้น โจแอลและโจแอลเดินออกจากบ้าน ตรงดิ่งขึ้นรถเก่าโกโรโกโสคันนั้น

แม่ของกิฟต์เคาะประตูหน้าห้อง บอกเวลาว่า ขณะนี้เที่ยงคืน นอนได้แล้ว ประเดี๋ยววันรุ่งจะตื่นสาย

กิฟต์เซฟข้อมูลของบ้านชมพูทวีป ออกจากระบบ ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ชักปลั๊กไฟเพื่อประหยัดพลังงาน

ความสนุกสนานของกิฟต์เต็มเปี่ยม ยืดตัวบิดขี้เกียจนิดๆ เธอจึงปีนขึ้นที่นอน นอนหลับเพิ่มพลังงาน

ล่าชิ้นเนื้อ



STEAK : One Man's Search for the World's Tastiest Piece of Beef
โดย Mark Schatzke
290 หน้า
สำนักพิมพ์ Viking


ใครชอบเที่ยว ชอบกินสเต๊ก อ่านเล่มนี้สิคะ Mark Schatzke นักเขียนอาหารชาวแคนาดา เขียนเรื่องท่องเที่ยวใน 7 ประเทศ 4 ภาคพื้นทวีป เขาบริโภคเนื้อกว่า 100 ปอนด์ เพื่อค้นหาเนื้อสเต๊กที่ดีที่สุด และค้นคว้าศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในรสเนื้อ การเดินทางเริ่มต้นที่เท็กซัส แล้วพัดเขาไปยังฝรั่งเศส สก็อตแลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น และอาร์เจนติน่า เขาเยี่ยมชมฟาร์มท้องถิ่น ไปกินอาหารที่ที่คนรักสเต๊กอยากไป และหาสายพันธุ์วัวเหล่านั้น ผ่านเรื่องเล่าจากการเดินทางท่องเที่ยวและการวิจารณ์อาหาร เขาอ้างอิงประเด็นด้านศาสนา ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ชีวเคมีและปรัชญา (ใครรู้ว่าโรลองด์ บาร์ต นักสัญศาสตร์ชาวฝรั่งเศสสนใจสเต๊กทาร์ทาร์มากบ้าง?) บทสนทนาในเล่มมีการตั้งคำถามต่างๆ นานา ทำสเต๊กอย่างไรให้อร่อย? มันถูกให้นมหรือให้อาหาร? เนื้อลายหรือว่ามันแก่? โดยหลังจากคุณมาร์กพบกับคุณบิลล์ โอ' เบรียน ผู้ซึ่งดูแลวัวกว่า 50,000 ตัว ในเท็กซัส และเป็นแชมเปี้ยนการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และใช้เวลาวิเคราะห์วิจารณ์เนื้อสเต๊ก เหมือนที่คนอื่นๆ วิจารณ์อาหาร เขาไม่ผลิตเนื้อที่ผู้เชี่ยวชาญ เรียกว่า "ข้อมูลรสชาติโดยรวม" และจำเป็นต้องใช้กระบวนวิธีแอนตี้ไบโอติก เพื่อรักษาตับและเครื่องในจากการตกหล่น คุณมาร์กวิจารณ์ไว้ว่า สเต๊กที่ได้จากวัวกินหญ้า เห็นความซับซ้อนมากกว่า และโชคร้ายที่การให้หญ้าเป็นอาหารไม่การันตีกลิ่นรสที่ดี เพราะว่าหญ้าที่เลวย่อมได้ชิ้นสเต๊กแย่ๆ เช่นกัน

เพื่อได้ข้อเท็จจริงเรื่องการเลี้ยงและดูแลสัตว์ที่ดีที่สุด คุณมาร์กชิม/ลอง/พิสูจน์สเต๊กจากวัวพื้นบ้านที่แอนกัสและที่ไฮแลนด์ในสก็อตแลนด์ เนื้อแบล็กวากิวในญี่ปุ่น เนื้อแชนนีน่าและเนื้อโพโดลิก้าในอิตาลี เนื้อลีมูแซงในฝรั่งเศส เมื่อกลับมาที่แคนาดา คุณมาร์กตัดสินใจว่าจะทำเนื้อสเต๊กเอง โดยใช้กรรมวิธีการเลี้ยงแบบชาวแคนาเดียนดั้งเดิม ให้อาหารด้วยฟางหญ้าของเขาเอง แอ็ปเปิ้ล แครอต ผลลูกโอ๊กและถั่ว ผลที่ได้เนื้อสเต๊กหวานมัน ทว่าเหนียว ถ้าคุณอ่านหนังสือจนจบ คุณจะรู้ว่า ความไม่สมบูรณ์แบบของชิ้นสเต๊ก อาจเป็นเพราะว่า สัตว์เครียด ผอมเกินไป หรือไม่ก็ยังเติบโตไม่เต็มที่ อากาศแห้ง ให้อาหารผิดเวลา แก่เกินไป อ่อนเกินไป ฯลฯ โดยท้ายเล่ม คุณมาร์กดึงให้ผู้อ่านเข้าสู่แบบทดสอบการจัดรสชาติการชิมเนื้อสเต๊กและทฤษฎีที่ว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะจำได้ว่า สเต๊กชิ้นไหนที่เขาชอบและเขาไม่ชอบ เพราะอะไร สุดท้าย เขาดึงคำของเชฟบรรลือโลกอย่าง อแลง ดูกาสส์ ไว้ว่า

"ประเด็นก็คือ มันไม่สามารถบอกได้ว่าอันไหนดีกว่าและอันไหนแย่กว่า สเต๊กแต่ละชิ้นให้ความพึงพอใจที่แตกต่าง ดังนั้น มันจึงไม่มีชิ้นที่สมบูรณ์ที่สุด"

เอาสเต๊กมาแลก



สเต๊ก

ชิ้นเนื้อสัตว์ (โดยมากใช้เนื้อวัว) ปลาที่ตัดแล่เป็นชิ้นๆ โดยมากสไลด์ให้หนาประมาณ 2 เซนติเมตร หรือ 0.75 นิ้ว เพื่อย่าง ทอด หรือปรุงเหนือถ่านร้อน สเต๊กมีรากศัพท์จากภาษาโอล์ด โนส (Old Norse) " Steikjo" มีความหมายว่า อบจนฉ่ำ ซึ่งเป็นวิธีการปรุงยอดนิยมในประเทศอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 15 เนื้อสเต๊กอบจนเป็นสีน้ำตาล โรยด้วยซินนามอน เสิร์ฟพร้อมซอสรสเยี่ยม เรียกชื่ออื่นก็ย่อมได้ ทั้งกริลล์ สเต๊ก คาร์โบนา โดยสเต๊กนิยมมากในศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้นก็ซาๆ ลงไป

การตัดชิ้นเนื้อสเต๊กมีหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่แต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื้อส่วนบริเวณกระดูกเชื่อมกระดูกหลัง ส่วนระหว่างหัวไหล่ และส่วนสะโพกของสัตว์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด

สเต๊กในอังกฤษถูกตั้งชื่อตามอวัยวะส่วนที่ตัดออกมาเป็นชิ้น ฟิลเล่ต์ (รู้จักกันดีในนาม เนื้อเทนเดอร์ลอยด์ หรือ อันเดอร์คัต) เป็นกล้ามเนื้อที่ยาวที่สุดใต้กระดูกของเซอร์ลอยด์ จัดว่าเป็นส่วนที่ไขมันน้อยที่สุดและนุ่มที่สุด ส่วนเนื้อเซอร์ลอยด์ นำมาจากส่วนที่เป็นกระดูก และตัดให้เป็นชิ้นสเต๊ก ความนุ่มน้อยกว่าเนื้อฟิลเล่ต์ แต่รสชาติดีกว่า สุดท้าย รัมป์ (เนื้อส่วนสะโพกหรือกระดูก H) ชิ้นใหญ่ ไขมันน้อย ถูกตัดให้เป็นชิ้นใหญ่ๆ เพื่อให้สเต๊กได้รสชาติเยี่ยม ทว่าเนื้อนุ่มน้อยกว่าเซอร์ลอยด์

ศาสตร์เรื่องสเต๊กในสหรัฐอเมริกา มีวัฒนธรรมการรับประทานสเต๊กชิ้นใหญ่ๆ ในฝรั่งเศส, สเต๊ก 1 จานมีเนื้อ 2 ชิ้น ชิ้นแรกคือเนื้อฟิลเล่ต์ชิ้นใหญ่ยาว สำหรับหลายๆ คน ตัดแบ่งส่วนเป็นชิ้นกลมๆ เล็กๆ จากตรงกลาง จากใกล้ๆ ไปถึงชิ้นเล็กที่สุด (ส่วนที่แคบที่สุดขอบ) ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "Filet Mignon" ส่วนอีกชิ้นใช้สเต๊กส่วนที่เรียกว่า อองเทอ กู้ต์ แปลว่า ระหว่างกระดูก มันถูกตัดมาจากด้านหลังไปถึงหัวไหล่ ในฝรั่งเศสตัดแยกเนื้อกล้ามเนื้อออกจากเนื้อที่มีไขมันน้อยอ่อนนุ่ม ซึ่งเป็นเนื้อส่วนที่เหมาะกับการทำสเต๊ก

การปรุงสเต๊กมีขั้นตอนง่ายที่สุดคือ ย่างบนความร้อนรุนแรง เพื่อให้สุกทั่วถึง ถ้าอยากให้เนื้อวัวเป็นแบบ "บลู" หรือ "เบลอ" ในภาษาฝรั่งเศส สังเกตง่ายๆ ผิวเนื้อด้านนอกจะเกรียมเป็นสีน้ำตาล ทว่าด้านใน เนื้อคงดิบแดง หรือไม่ก็เป็นชิ้นที่ข้างในยังอุ่นร้อน ไฟเบอร์อ่อนนุ่ม เนื้อเป็นสีชมพูสด

แบบมีเดียม หรือ อาปงต์ ในภาษาฝรั่งเศส เนื้อด้านในเริ่มสุกและมีน้ำฉ่ำๆ

แบบเวลดัน หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า เบียง กูต เนื้อด้านในสุกเป็นสีเทาน้ำตาลและมีน้ำออกจากเนื้อมาก

ในอังกฤษ ชิ้นสเต๊กเรียบง่าย แค่นำไปย่างหรือทอด ส่วนที่อ่อนนุ่มน้อยที่สุดของสเต๊กถูกนำไปเคี่ยวกับผักประเภทที่ผลอยู่ในรากดิน เช่น แครอต หรือ หัวไชเท้า ไม่เช่นนั้นก็ทำเป็นสตูว์ พาย หรือ สเต๊ก แอนด์ คิดนีย์ พุดดิ้ง ออร์ พาย ในอเมริกาเหนือ การย่างบนเตาถ่าน เป็นวิธีทำให้สเต๊กหอม อร่อย รสดีกว่ากรรมวิธีทำอื่นๆ

Swiss Steak สเต๊กเนื้อเหนือน่อง เป็นชิ้นกลมๆ เคล้าแป้งและเครื่องปรุง ทอดกับหัวหอม และปรงรสด้วยการเคี่ยว

Carpetbag Steak (นิยมมากในออสเตรเลีย) เนื้อที่ไม่มีกระดูก ยัดไส้ด้วยหอยนางรมดิบสด (สันนิษฐานว่า พัฒนามาจากสเต๊กและซอสหอยนางรม--สเต๊กตำรับเก่าจากอังกฤษ

ในสูตรอาหารฝรั่งเศส สเต๊ก-ฟริตต์ (สเต๊กและมันฝรั่งทอด) เป็นอาหารจานพื้นฐานในทุกครัวเรือน ทว่าเมื่อยกระดับสเต๊กเป็นอาหารจานหรู มักถูกเสิร์ฟพร้อมซอสชั้นเลิศ แหวกแนว และตบแต่งสวยงามด้วยเครื่องเคียง เช่น เห็ดทรัฟเฟิล ฟัวร์ กราส์ ใจอาร์ติโช๊ก ฯลฯ

สเต๊กอองเทอกู้ต์ มีเครื่องเคียงคลาสสิกคือ ซอสบีอาเนส

ในทัสคานี เนื้อเทนเดอร์ชิ้นใหญ่จากวัวที่เซียนน่า ใช้ทำเป็นสเต๊กที่ชื่อว่า "Bistecca alla fiorentina" ทอดหรือย่างด้วยถ่าน เคล้าน้ำมันมะกอก เสิร์ฟพร้อมชิ้นเลมอน

ที่ญี่ปุ่น วัฒนธรรมการรับประทานสเต๊ก เข้ามาเมื่อศตวรรษที่ 19 จากนั้น ก็มีการพัฒนารสชาติเนื้อสเต๊ก กระทั่งมีตำรับเป็นของตัวเอง

เมื่อสเต๊กหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋าและกินแบบดิบๆ ปรุงรสด้วยวัตถุดิบอื่นๆ มันคือทาร์ทาร์สเต๊ก

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Purile Porn?



Wetlands
โดย Charlotte Roche
240 หน้า
สำนักพิมพ์ Fourth Estate


นวนิยายเล่มแรกของ Charlotte Roche ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาเยอรมัน หนึ่งปีให้หลังจึงถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ เปิดเรื่องด้วยตัวละครเอก--Helen Memel หญิงสาววัย 18 ปี อยู่ในโรงพยาบาล หลังจากพุ่มพงส่วนนั้นถูกโกนเกลี้ยงเพราะอุบัติเหตุ ส่วนที่เหลือของนิยายตั้งใจยกประเด็นพื้นฐานเรื่องความสะอาด สุขอนามัยของอวัยวะซ่อนเร้น ให้ความสนใจระหว่างการใคร่ครวญถึงรอยบาดเจ็บที่อวัยวะเพศของเฮเลน และการหลงใหลอาการติดเซ็กส์อย่างแรงของเจ้าหล่อน เฮเลนขอร้องให้บุรุษพยาบาลถ่ายรูปรอยแผล พยายามยั่วยวนเขา ซ่อนอยู่ใต้เตียงเพื่อช่วยเหลือตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า อยากรู้อยากเห็นกลิ่นรสของร่างกาย โดยเฉพาะของหล่อนเองเหลือเกิน หล่อนมีเพศสัมพันธ์กับคนมากหน้าหลายตาอย่างมีความสุข สิ่งที่เฮเลนสะท้อนออกมาอย่างชัดแจ้งคือ เรื่องสุขอนามัย ซึ่งหล่อนเพิกเฉย เมื่อหล่อนใช้ห้องน้ำสาธารณะ หล่อนก็ชอบที่จะใช้มือขัดถูนาผืนน้อยบนชักโครก ซึ่งนั่นหล่อนกำลังทดลองเรื่อง การไม่ล้างอวัยวะเพศเป็นเวลานานอยู่...รู้ไว้ซะ เพื่อตรวจสอบผลเรื่องรักใคร่อีโรติก (ดิฉันเขินอายไม่กล้าแปล ขอยกข้อความเป็นภาษาอังกฤษทดแทน) dabbing her own personal public perfume behind her earlobes. It works wander from the moment you greet someone with a kiss on his cheek

เวตแลนด์จึงกลายเป็นวรรณกรรมที่ผู้คนจับตามองทันที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศเยอรมนี (ครั้งแรกที่เธอส่งต้นฉบับนิยายฉบับนี้กับสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง ก็โดนปฏิเสธในทันที) ขายดิบขายดีหลายแสนเล่ม เป็นหนังสือภาษาเยอรมันเล่มแรกที่ติดอันดับหนังสือขายดีทั่วโลกของอเมซอน นักอ่านหลายคนตกหลุมรักหนังสือเล่มนี้มากมาย หรือไม่ก็ไม่ชอบไปเลย วิจารณ์เลยเถิดไปว่า มันเป็นเพียงแค่หนังสือที่คนดังเขียน เลือกประเด็นร้อนแรง เพื่อให้หนังสือขายดี โดนเปรียบเทียบกับวรรณกรรมวัยรุ่นหลายเล่ม เช่น Crash ของ JG Ballard The Catcher In The Rye ของ JD Salinger และ The Female Eunuch ของ Germaine Greer

อยากรู้ว่า มันเป็นงานที่ท้าทายวงการเฟมินิสต์ หรือแค่สื่อโป๊ๆ ประเด็นแรงๆ เอาใจวัยรุ่น สั่งจากอเมซอนสักเล่มสิคะ



เกี่ยวกับผู้เขียน

Charlotte Roche อายุ 32 ปี เกิดใน High Wycombe ประเทศอังกฤษ ย้ายไปพำนักที่เยอรมนีแต่เล็กแต่น้อย ดังนั้น หล่อนออกตัวว่า เป็นคนอังกฤษที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่แตกฉาน รอชเป็นคนดังตั้งแต่วัยรุ่น โดยเป็นพรีเซนเตอร์งานโทรทัศน์หลายชิ้น (ภาษาบ้านๆ--เป็นเซเลบตั้งแต่เนื้อสาวแตกเปรี๊ยะ) ท่าทางอ่อนหวานและช่างพูดช่างจาเหมือนหญิงสาวทั่วๆ ไป ดูเหมือนเป็นคนง่ายๆ สบายๆ และขี้เล่น มากกว่าที่สาธารณะชนพูดถึงผลงานของเธอ

รอชมีลูกสาวอายุ 6 ขวบ หนึ่งคน ในวัยเด็กของรอช, บิดามารดาแยกทางตั้งแต่เธออายุแค่ 5 ปี บิดาเป็นวิศวกรผู้สร้างโรงงานให้บริษัท มาร์ส ในเยอรมนี มารดาคือเฟมินิสต์หัวก้าวหน้าที่พูดคุยกับลูกเรื่องท้องโดยไม่จำเป็นต้องมีบิดาของลูก (อันนี้รอชไม่ทำตามคำแนะนำของแม่ เพราะตอนนี้เธอมีสามีที่น่ารักข้างกาย) ยอมให้ลูกสาวมีเซ็กส์ที่บ้านตั้งแต่วัยรุ่น และมีหนังสือมากมายทางด้านนี้ให้ลูกสาวอ่านกองเบ้อเริ่ม ส่วนคุณยายเป็นผู้หญิงสง่างาม เกิดในวิมเบอดัน เป็นแม่บ้านแม่เรือนสุดเลิศในยุคฟิฟต์ตี้ ผู้สอนให้ลูกสาว (นั่นคือแม่ของหล่อน) ให้นอนเหยียดตัวยาวบนที่นอน ห่มผ้าห่มให้ตึง ใช้สองมือดึงปลายผ้าเอาไว้

Shrink



หนึ่งในบรรดาหนังฮอลลีวู๊ดที่เปิดโปงคราบเงาความหรูหราในแวดวงชาวฮอลลี่ได้อย่างเฉียบขาด โดยไม่เร้าอารมณ์และจูงใจอย่างโจ่งแจ้ง เควิน สปาซี่ รับบท ด็อกเตอร์ คาร์เตอร์--เซเลบริตี้ฮอลลีวู๊ด ผู้สวมเสื้อผ้าแบรนด์อาร์มานี่ที่กำลังเข้าสู่ยุคดาวดับ ใบหน้าคร่าตาไม่โกนหนวดโกนเครา ดื่มหนัก สูบจัด ใช้ยา ทั้งๆ ที่เขามีอาชีพเป็นนักจิตบำบัด (ผู้ไม่สามารถเยียวยาตัวเองได้) และเขียนหนังสือ (ช่วยบำบัดจิตใจผู้คน) เป็นหนังสือขายดีหลายเล่ม ทั้ง "สยบความเศร้า" และ "ความสุขในตอนนี้" ตั้งแต่ภรรยาของเขาเสียชีวิต คาร์เตอร์ก็กลายเป็นคนใช้ยา ประสิทธิภาพการทำงานเสื่อมถอย เขามีอาการทางจิตเหมือนลูกค้าของเขา อันได้แก่ ดาราอับแสง (แสดงโดย เซฟฟรอน เบอร์ลอว์ส) คนติดเซ็กซ์ ติดแอลกกฮอลล์ (แสดงโดย โรบิน วิลเลียมส์) ขวัญใจประชาชนผู้ดื่มไอริสมาร์ตินี่หนักหน่วง และตัวแทนขายหนังผู้เอาแต่ใจ ผู้ไม่เคยดูหนังที่ตัวเองนำไปขายสักเรื่อง

Shrink
ผลิตในปี 2009
มีความยาว 104 นาที
กำกับการแสดงโดย Jonas Pate & Jonas Pate