วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Subjective--Commune to Living



Ulysses and Us : The Art of Everyday Living
โดย ดีเคลน คีเบิร์ด
399 หน้า
สำนักพิมพ์ ฟาเบอร์


นวนิยายทดลองโดยใช้ถนนต่างๆ ในดับลิน และวันบลูมส์เดย์ที่ผู้คนเฉลิมฉลองให้กับนวนิยายเล่มคลาสสิกของจอยซ์ ที่ติดตริงอยู่ในใจ นั่นคือ "Ulysses" (1922) วรรณกรรมโมเดิร์นนิสต์ชิ้นเอก เฉกเช่น หนังสือเล่มสำคัญของโลกเล่มอื่นๆ "Remembrance of Things Past" ของนักเขียนชาวฝรั่งเศส--มาร์เซล พรุสต์ หรือจะเป็น "The Man Without Qualities" ของโรเบิร์ต มูซิล ทว่า บริบทแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ก็อ้างชีวิตในเมืองซึ่งเป็นฉากเบื้องหลัง วันที่ตั้งเป็นโอกาสพิเศษเพื่อการรำลึกกถึงจอยซ์ 16 มิถุนายน หรือวันบลูมส์เดย์--วันที่หนังสือเกิดในปี 1904 งานเลี้ยงเฉลิมฉลองเกิดขึ้นจาก เมื่อลีโอพอล์ด บลูม และ สตีเฟน ดีคาลูส นั่งอยู่ด้วยกัน หลังจากรับประทานขนมปังโรล เคล้าจิบกาแฟ แล้วใครสักคนก็เอ่ยขึ้นมาว่า "ทำสิ่งนั้นในความทรงจำของฉัน" โดยทุกปีการเติบโตของวัฒนธรรมคัลต์ (หนังสือ หนัง งานเศิลป์ที่เป็นที่นิยมอย่างมากเฉพาะกลุ่ม) เพิ่มขึ้น มันจึงเกิดถนนแห่งการเฉลิมฉลอง ในวันเฉลิมฉลองคนดับลินจะแต่งตัวเลียนแบบตัวละครในหนังสือ ราวกับว่าพวกเขาเหล่านั้นเต็มใจที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในข้อความในนิยาย พวกเขาแสดงละครในฉากต่างๆ (ในถนนเอ็กเซิลส์ ออร์มอนด์ เควย์ และตึกมาร์คาลโลของแซนดี้โคฟ) เพื่อสะท้อนชีวิตในเมืองนี้ในนิยาย

หนังสือเล่มนี้พาท่านเข้าสู่โลกของจอยซ์ด้วยนวนิยาย ซึ่งหลักๆ แล้วก็คือการเดินเล่นตามท้องถนน การกิน จิบชา และเรื่องการใช้ชีวิตในครอบครัวซึ่งไม่ค่อยจะมีความสุข ซึ่งคล้ายกับว่าเหมือนใช้ชีวิตเช่นที่จอยซ์เคยเป็นและเคยอยู่ โดยเฉพาะเอ่ยถึงวันบลูมส์เดย์

จอยซ์เคยอาศัยในปารีส ซึ่งมีกลุ่มคนผู้นิยมสัจจนิยมที่อยู่ในย่านเดียวกับจอยซ์ ผู้ซึ่งเติบโตมากับกลุ่มคนที่เป็นคาทอลิก (ทว่าศาสนาของพวกเขาถูกแทนที่ด้วยความเป็นสาธารณะ ความเชื่อของมวลชน และกลุ่มคนที่เป็นคาทอลิก)ขณะที่จอยซ์อยู่ในขั้วตรงข้ามกับความคิดนั้นๆ โดยงานชิ้นนี้พยายามที่จะรื้อฟื้นบรรยากาศเมืองดับลินเพื่อที่จะเชื่อมต่อความรู้สึกที่หายไป ถึงแม้ว่ายูลิสซิส เป็นหนังสือที่ว่าด้วยความเป็นปัจเจกชนและเขียนโดยเอาตนเองเป็นที่ตั้ง ทว่าฉากในนวนิยายของเขาก็มีสถานที่สำคัญเป็นฉากหลังมากมาย ทั้งห้องสมุด บาร์ หลุมฝังศพ และถนนสายสำคัญๆ นั่นคือกระบวนวิธีและสไตล์การเขียนที่จอยซ์เป็นผู้บุกเบิก

เหล่าตัวละครของจอยซ์นิยมชมชอบเหตุบังเอิญตามท้องถนน การพบกันโดยไม่คาดฝัน และเสนอแก่นเรื่องด้วยฉากต่างๆ ที่ภายหลังประสบความสำเร็จในใจคน นั่นคือ การที่เขามอง "คนบนท้องถนน" จอยซ์มองพวกเขาในพื้นฐานทางวรรณกรรม บลูมส์เดย์เป็นแค่ส่วนหนึ่งในการแสดงความเศร้าเสียใจในช่วงเวลาที่เมืองดับลินอบอวลไปด้วยความรู้สึกในขณะที่เป็นเมืองแห่งความใกล้ชิดผูกพัน

หากกล่าวว่าหนังสือเรื่อง Ulysses and Us : The Art of Everyday Living เป็นความไม่ปรกติในประวัติศาสตร์โมเดิร์นนิสต์ คงไม่เกินจริงนัก เพราะว่ามันเป็นความกลมกลืนระหว่างพวกโบฮีเมียนและพวกกระฎุมพี บรรยากาศในหนังสือบอกว่าพวกบลูมเป็นพวกที่พูดถึงปัญหา ใคร่ครวญคร่ำครวญผ่านการสนทนาในเวลาน้ำชา จิบช็อกโกแลตคาคาว ตามหลักฐานที่กล่าวอ้างไว้ ในทุกวันเท่าที่จะเป็นไปได้ จอยซ์สอนเรื่องที่เกี่ยวกับโลก : วิธีการจัดการกับความเศร้าโศกเสียใจและความสูญเสีย วิธีที่จะเล่าเรื่องตลก และตอนไหน-อย่างไรที่ไม่ควรเล่า วิธีที่เป็นคนจริงใจกับความตายแห่งยุสมัยแห่งการลวง วิธีที่จะเดินไปและคิดไปในเวลาเดียวกัน วิธีที่จะต่อต้านวิธีคิดเรื่องเพศของความเป็นเจ้าของ และวิถีหนทางการดำรงงชีวิต อาหารการกินของผู้คนซึ่งบอกได้ว่าพวกเขาเป็นใคร

ก่อนยุคของจอยซ์ ไม่มีนักเขียนนิยายคนใดใช้ฉากเบื้องหน้า อธิบายกระบวนการความคิด งานบทละครของเช็คสเปียร์ และนวนิยายในศตวรรษที่ 19 เป็นงานที่คนชั้นสูงใคร่ครวญถึงแต่ความตายและการฆ่าตัวตาย จอยซ์เป็นผู้บุกเบิกงานที่ตระหนักถึงคนทั่วไป ชิ้นงานไม่มีอะไรสำคัญเกินกว่าการนั่งดื่มชา ซึ่งเขาเขย่าความคิดผู้คนด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ทว่าเขาไม่เคยทำอะไรที่ผิดปรกติเกินคนธรรมดาเป็น เมื่อเหล่าบรรดาแฟนๆ ของเขาร้องขอจูบมือที่เขาเขียนยูลิสซีส จอยซ์กลับหัวเราะและบอกว่า "ไม่ได้หรอก มือนั่นน่ะ ทำอะไรมานักต่อนักแล้ว"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น