วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Life Long Journey>>Identity



The Art of Adornment, the Pleasures of Shopping, and Why Clothes Matter
โดย Linda Grant
210 หน้า


ในปี 1883 Emile Zola เตือนว่า ในศูนย์การค้า หลังจากเกิดปรากฏการณ์ฮอลล์มาร์กแบบเดิ้นๆ ในปารีสขึ้น ความเชื่อเรื่องเข้าโบสถ์ถูกแทนที่ด้วยศาสนาแห่งการจับจ่าย แม้ว่า สภาพทางเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันสูง คนเดินเอ้อระเหยในร้านขายของหรูหราโดยชอบธรรม ลินดา เกรนต์ จึงเขียนหนังสือเรื่อง "Thoughtful Dresser" เป็นคำยืนยันอย่างหนักแน่นของคนที่เชื่อในลัทธิบริโภคนิยม เธอว่า "ฉันถูกจ่าหัวไว้แล้ว จ่าหัวไว้แล้วว่าให้เดินทอดน่องยาวที่ถนนบอนด์ (Bond Street) และถูกจ่าหัวไว้แล้วว่าให้เข้าไปแลข้าวของในแอร์เมส และก็ลงชื่อในบัญชีรอกระเป๋าเบอร์กิ้น"

เกรนต์คือผู้เขียนนิยาย "The Clothes on Their Backs" ที่อยู่ในรายชื่อผู้ถูกเสนอรับรางวัล Man Booker Prize ในปี 2008 ทว่าเธอก็พลาดรางวัลนั้น ในขณะนั้นสิ่งที่เธอสนใจก็คือเงินและการช้อปปิ้ง ซึ่งเป็นยารักษาแผล แม้ในเวลาที่หนักหนาสาหัส หล่อนก็ว่า "เพราะฉันอยากจะรู้สึกว่า เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นสิ่งสุดท้ายที่ฉันจะรู้สึกแย่ กดดัน ความกดดันที่ฉันจะรู้สึกว่า ฉันกำลังใส่เสื้อผ้าราคาถูกและน่าหดหู่ คุณจำเป็นต้องซื้อ ซื้อชุดที่คุณจำเป็นสำหรับอนาคตอันน่าอับจน" เสียงแสดงความรู้สึกแบบนั้น ไม่ต่างอะไรกับที่ไม่ต้องแคร์ว่า ต้องทำอะไรบ้าง ในเมื่อได้เงินจากรัฐบาลเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจับจ่ายของหรูหราอะไรไม่ได้เลย

ความสนใจเรื่องเสื้อผ้าของหล่อนนั้น ไม่ได้มาจากการที่ตัวเองอยู่ในกลุ่มคนที่ได้เปรียบมากกว่าคนอื่นในสังคม (elitism) ทว่ามาจากขั้วตรงข้าม จากครอบครัวที่อพยพมาจากยุโรปตะวันออก ที่ตระหนักว่า ตราบใดก็ตามที่พวกเขาดูเหมือนพวกคนที่เข้ากลุ่มไม่ได้ พวกเขาก็จะไม่ได้รับการเอาใจใส่ "เพราะปู่ย่าตายายของฉันบอกว่า เสื้อผ้าของพวกเขาไม่ได้เพียงแค่ส่งสารถึงประเทศใหม่ที่พวกเขาเป็นคนที่เพิ่งเข้ามาอยู่ กาละและเทศะ ทว่าแค่เปลี่ยนเสื้อผ้าพวกเขาก็เปลี่ยน" เรื่องการแต่งตัว "มันถูกยอมรับว่าเป็นกระบวนการของกระบวนการความพร้อมที่ปรับเปลี่ยน ในสิ่งซึ่งพวกเขาจะกลายเป็นคนอังกฤษ"

หล่อนยังเขียนอีกว่า "และเพื่อชัยชนะ ครอบครัวของฉันถือคติประจำใจว่า (แค่ความร่ำรวยที่จะหารองเท้าถูกๆ ใส่ได้ มันแย่กว่าการถังแตกเสียอีก และนั่นก็ดูราวกับว่าคุณอับจนอยู่) ซึ่งคือเสียงสะท้อนที่คล้ายการป่าวประกาศถึงช่วงชีวิตในเวลานั้น

"เสื้อผ้าก็เหมือนการเดินทางเป็นเวลานานเพื่อแสดงตัวตน"..."ฉันพัฒนาเครื่องบ่งชี้ตัวฉันผ่านเสื้อผ้า"..."เมื่อคุณเริ่มแต่งตัวให้ตัวเอง คุณกำลังเริ่มเดินทางอันยาวนานอยู่ เพื่อให้เข้าไปสู่อนาคตของคุณ ยากที่จะสังเกตว่า มันคือการสร้างทุกๆ วัน ของสิ่งที่คุณเป็นผ่านการแต่งตัว"

เกรนต์ใช้กระบวนการบ่งชี้ให้ผู้อ่านเข้าไปใน "การผจญภัยอันยาวนานของเธอ" มุ่งสู่ "การชี้เฉพาะตัวตน"

"ตราบใดก็ตามที่มีสไตล์ใหม่เกิดขึ้น คุณจะต้องใส่มัน เพราะคุณเป็นคนอย่างนั้นแหละ เหมือนว่าเสื้อผ้าคือแฟชั่น และมันก็ต้องเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ...แต่ทุกครั้งที่คุณเปลี่ยนเสื้อผ้า คุณจะค้นพบความแปลกใหม่

"ตอนอายุ 16 ปี ถึงอายุ 60 ปี มันเป็นช่วงเวลาที่คุณต้องใช้เสื้อผ้า เพื่อค้นพบตัวคุณเอง เวลายืนหน้ากระจก จะมองเห็นคนมากมาย ด้วยเสื้อผ้าที่คุณสวมใส่ : เปิดให้เห็นความเป็นไปได้ทั้งหมด นั่นคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่หลากหลาย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น